Bromadioguard ยากำจัดหนู ยาเบื่อหนู เหยื่อกำจัดหนู ชนิดตายแห้ง เกรดส่งออก ขนาดบรรจุ 1 กก. Rodent Bait, Rat Bait Ready to use #1 ยากำจัดหนูบ้าน
Product Description
Bromadioguard โบรมาดิโอการ์ด
ยากำจัดหนู ยาเบื่อหนู เหยื่อกำจัดหนู ชนิดตายแห้ง เกรดส่งออก ขนาดบรรจุ 1 กก. Rodent Bait, Rat Bait Ready to use #1 ยากำจัดหนูบ้าน
สารออกฤทธิ์ Bromadiolone 0.005% W/W Wax block
ผลิตภัณฑ์กำจัดหนู
แบบเหยื่อพิษสำเร็จรูปชนิดก้อน ใช้งานง่ายและสะดวก สามารถใช้กำจัดหนูที่อาศัยตามบ้านเรือน โรงงงาน โรงพยาบาล เป็นเหยื่อที่มีกลิ่นที่หนูชอบ
ชื่อทางการค้า โบรมาดิโอการ์ด (BROMADIOGUARD)
กลุ่มสารเคมี โบรมาดิโอโลน (Bromadiolone 0.005% W/W Wax Block)
ชนิดหรือรูปแบบ เป็นเหยื่อพิษสำเร็จรูปชนิดก้อน เคลือบแว็กซ์ กันน้ำ
ประโยชน์ ใช้กำจัดหนูตามบ้านเรือน โรงงาน การเกษตร
ลักษณะปรากฎ ชนิดเหยื่อสำเร็จรูปชนิดก้อน สีแดงอ่อน
ขนาดบรรจุ ถุงละ 1 กิโลกรัม
เลขที่ กปศ. 01 04 55 0104
หมายเหตุ สารเคมีกำจัดแมลงต้องใช้โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านกำจัดแมลงเท่านั้น
คุณสมบัติเด่นเฉพาะของ โบรมาดิโอการ์ด Bromadioguard (Bromadiolone 0.005% w/w)
เหยื่อกำจัดหนู โบรมาดิโอการ์ด : เป็นแบบเหยื่อพิษหนูสำเร็จรูปชนิดก้อน ใช้งานง่ายและสะดวก สามารถใช้กำจัดหนูที่อาศัยตามบ้านเรือน โรงงงาน เป็นเหยื่อที่มีกลิ่นที่หนูชอบ
1. โบรมาดิโอการ์ด เป็นผลิตภัณฑ์เคลือบด้วยขี้ผึ้งทำให้เหยื่อคงสภาพเดิมได้ยาวนานขึ้นและทนต่อสภาพแวดล้อมในบ้านเรา
2. โบรมาดิโอการ์ด ผลิตจากเมล็ดถั่วและธัญพืช ซึ่งเป็นอาหารที่หนูชอบกิน ทำให้เป็นที่ต้องการของหนูมากกว่าเหยื่อทั่วๆไป
3. หลังจากหนูกินเหยื่อ จะกระหายน้ำและหนูจะตายภาใน 3-4 วัน หนูจะตายแห้ง ไม่เหม็นเน่าเหมือนเหยื่อคลุกชนิดตายเร็ว กำจัดหนูได้ 100% เพราะจะไม่ทำให้หนูนั้นเข็ดขยาดเหยื่อ
วิธีการใช้ โบรมาดิโอการ์ด Bromadioguard
(Bromadiolone 0.005% w/w)
เทโบรมาดิโอการ์ด 20 กรัม (ประมาณ 3-4 ก้อน) ลงในภาชนะรองรับและวางไว้ตรงที่มิดชิดหรือบริเวณที่มีหนูชุกชุมควรวางห่าง กันจุดละ 1-2 เมตร เติมเหยื่อแทนเหยื่อเดิมที่หนูแทะไว้แล้ว และวางติดต่อกันเป็นเวลาประมาณ 5 วัน หรือจนกระทั่งไม่มีร่องรอยว่ามีหนูอยู่
วิธีการเก็บรักษา เหยื่อกำจัดหนู โบรมาดิโอการ์ด
ควรเก็บในที่แห้งและเย็น อย่าให้ถูกแสงแดดและเก็บให้มิดชิด ห่างไกลจากเด็ก อาหาร น้ำดื่มและสัตว์เลี้ยง
Rodent Bait, Rat Bait Ready to use
Common name : Bromadioguard
Formulation : 0.005%W/W Wax Block
Trade name : BROMADIOGUARD
Packaging : 12 x 1 box (1 kg) ,10 x 1 kg
Use profile : Bromadioguard is a poison bait for the control of rats and mice in the animal farms, animal feed processing plants, and animal product processing plants
สนใจติดต่อสั่งซื้อ เหยื่อกำจัดหนู โบรมาดิโอการ์ด Bromadioguard
• สั่งซื้อทาง อีเมลล์ โดยส่งรายละเอียดความต้องการต่าง ๆ เกี่ยวกับ เหยื่อกำจัดหนู โบรมาดิโอการ์ด มายัง E-mail : thaipestchemical@gmail.com
• โทรสอบถามได้โดยตรงกับทาง คุณหลิน เบอร์โทร 081 899 4987
• ในกรณีที่สั่งซื้อเป็นจำนวนมาก มีส่วนลดพิเศษ ให้ค่ะ
หรือสั่งซื้อ โบรมาดิโอการ์ด Bromadioguard ได้ที่
LAZADA ==> โบรมาดิโอการ์ด Bromadioguard
SHOPEE ==> โบรมาดิโอการ์ด Bromadioguard
หมายเหตุ สารเคมีกำจัดแมลงต้องใช้โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านกำจัดแมลงเท่านั้น
คำเตือน
1. ห้ามรับประทาน
2. วางเหยื่อในสถานที่ที่เด็กและสัตว์เลี้ยง ไม่สามารถเข้าไปได้
3. อย่าวางเหยื่อในบริเวณที่ เหยื่อกำจัดหนู โบรมาดิโอการ์ด จะมีโอกาสปนเปื้อนกับอาหารหรือพื้นผิวที่สัมผัสกับอาหาร
4. ภายหลังการหยิบจับ เหยื่อกำจัดหนู โบรมาดิโอการ์ด ควรล้างมือทุกครั้ง
5. ในกรณีที่วาง เหยื่อกำจัดหนู โบรมาดิโอการ์ด ในที่เปิดเผย ควรจะทำการเก็บกวาดและงดใช้ในเวลากลางวัน
6. ห้ามทิ้ง เหยื่อกำจัดหนู โบรมาดิโอการ์ด หรือภาชนะบรรจุลงในแม่น้ำ คู คลอง แหล่งน้ำสาธารณะ
หมายเหตุ สารเคมีกำจัดแมลงต้องใช้โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านกำจัดแมลงเท่านั้น
อาการเกิดพิษ
ผู้ได้รับพิษจากการรับประทาน เหยื่อกำจัดหนู โบรมาดิโอการ์ด นี้ ในระยะแรกอาจจะยังไม่แสดงอาการผิดปกติ นอกจากระยะเวลาการแข็งตัวของเลือดจะนานขึ้น แต่หากรับประทาน เหยื่อกำจัดหนู โบรมาดิโอการ์ด นี้ในปริมาณมากๆ หรือติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการตกเลือด โดยอาจมีเลือดออกมากับปัสสาวะ อุจจาระ เลือดกำเดาไหล หรือมีเลือดออกตามเหงือก อาจมีอาการปวดท้องและหลัง เนื่องจากมีอาการตกเลือด ภายในช่องท้อง อ่อนเพลีย ตัวซีด อาจตายได้เนื่องจากเสียเลือดมาก
วิธีแก้พิษเบื้องต้น
1. หากกลืนกิน เหยื่อกำจัดหนู โบรมาดิโอการ์ด ให้ทำให้อาเจียนโดยดื่มน้ำสะอาด 2 แก้ว แล้วทำการล้วงคอ
2. ให้รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที พร้อมกับภาชนะบรรจุ หรือฉลากของ เหยื่อกำจัดหนู โบรมาดิโอการ์ด เท่านั้น
บทความ เมื่อ หนูไม่น่ารักบุก….กินข้าวในนาทำยังไงดีครับ
หนู คือ ศัตรูพืชที่สำคัญชนิดหนึ่ง สามารถทำลายพืชผลของเกษตรกรได้เป็นจำนวนมหาศาล ผลผลิตที่ได้รับจึงมักจะไม่คุ้มค่ากับการลงทุน แล้วท่านจะปล่อยให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นกระนั้นหรือ ? มาซิ…….. มาช่วยกันป้องกัน และกำจัดหนูศัตรูร้ายให้หมดสิ้นไป
หนูมีกี่ชนิด
หนูที่พบในไร่นาหรือใกล้นามักจะเรียกว่า หนูนา มีอยู่ด้วยกัน 6 ชนิด คือ
o หนูพุกใหญ่
o หนูพุกเล็ก
o หนูท้องขาว
o หนูสวน
o หนูหริ่งหางยาว
o หนูหริ่งหางสั้น
การขยายพันธุ์
หนูจะขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว เฉลี่ยอายุ 2-3 เดือนก็สามารถผสมพันธุ์ได้ ปีหนึ่ง ๆ ตกลูกได้ 4-6 ครอก ๆ หนึ่งประมาณ 6-10 ตัว
ที่อยู่อาศัย และอาหาร
หนูมักจะขุดรูอยู่ใต้ดิน หรือหลบอาศัยอยู่ตามบริเวณพื้นที่รก ๆ หรือแหล่งที่มีอาหารมาก ๆ และหนูจะกินอาหารมาก ๆ โดยหนูจะกินอาหารไม่เลือก ปริมาณที่กินเข้าไปเท่ากับ 1 ใน 10 เท่าของน้ำหนักตัว ต่อวัน และฟันแทะของหนูจะยาวปีละ 6-9 นิ้ว มันจึงจำเป็นต้องแทะเพื่อไม่ให้ฟันยาวเกินไป
ร่องรอยของหนู
เมื่อหนูออกกินอาหารที่เป็นพืชผลของเกษตรกรแล้ว มักจะทิ้งร่องรอยการทำลายไว้ให้สังเกตได้โดยง่าย เช่น รอยเท้า ทางเดิน มูลที่ตกหล่น ซากพืชที่ถูกทำลาย
การสำรวจร่องรอยหนู
เกษตรกรจะต้องหมั่นสำรวจแปลงไร่นาเสมอ ๆ เพื่อจะได้ทราบแหล่งที่อยู่อาศัย และหากพบร่องรอยการทำลายพืชของหนูแล้ว ควรจะรีบป้องกันและกำจัดโดยเร็ว
การป้องกัน และกำจัดหนูอย่างไรให้ได้ผลดี
1. การป้องกัน และกำจัดโดยใช้ยาเบื่อหนูประเภทออกฤทธิ์เร็ว
โดยใช้ยาเบื่อหนูซิงค์ฟอสไฟด์ 80% (ผงสีดา) ผสมกับเหยื่อปลายข้าว หรือข้าวโพดป่นในอัตราส่วน 1/100 โดยน้ำหนัก จะห่อด้วยใบตอง ห่อละ 1 ช้อนแกง หรือจะวางจุดละ 1 ช้อนแกงแล้วคลุมด้วยแกลบเพื่อป้องกันความชื้น โดยนำเหยื่อไปวางตามทางเดิน หรือร่องรอยที่สำรวจพบ เป็นจุด ๆ ละ 1 ห่อ หรือ 1 ช้อนแกง ทุกระยะ 5-15 เมตร เมื่อหนูมากินเหยื่อนี้จะตายภายใน 24 ชั่วโมง
ข้อสังเกตุ
การใช้ยาเบื่อหนูประเภทออกฤทธิ์เร็ว ชนิดที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ขอแนะนำให้ใช้กำจัดหนูในหน้าแล้ง หรือก่อนเตรียมการเพาะปลูก และควรใช้เพียง 1 ครั้ง ก็จะสามารถกำจัดหนูได้ทั่วถึงอย่างรวดเร็ว เป็นการลดปริมาณหนูให้น้อยลง ถ้าใช้มากกว่า 1 ครั้งจะทำให้หนูเกิดการเข็ดขยาดต่อเหยื่อพิษชนิดนี้
2. การใช้ยาเบื่อหนูประเภทออกฤทธิ์ช้า
เช่น ใช้เหยื่อสำเร็จรูปแบบซอง หรือแบบก้อนขี้ผึ้ง เช่น โบรมาดิโอโลน ฟลอคูมาเฟน หรือยาหมันแอลฟลาคลอโรไฮดริน ให้วางไร่ละ 20 ซอง หรือ 20 ก้อน ตามคันนาหรือตามร่องรอยของหนู ห่างกันซอง/ก้อนละ 5-10 เมตร เมื่อหนูมากินเหยื่อนี้จะตายภายใน 2-8 วัน การวางยาเบื่อหนูชนิดนี้ ควรวางเดือนละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3 ครั้ง
3. การป้องกันและกำจัดด้วยวิธีเขตกรรม
เช่น การถางหญ้าหรือจุดไฟเผาบริเวณแหล่งที่อยู่อาศัยของหนู หรือใช้วิธีกล เช่น การขุดทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย วางกับดัก และการล้อมตี
การใช้ยาเบื่อหนู และข้อปฏิบัติในการใช้ยาเบื่อหนู
1. ห้ามใช้ยาเบื่อหนูประเภทออกฤทธิ์เร็วผสมกับยาเบื่อหนูประเภทออกฤทธิ์ช้า แล้วผสมกับเหยื่อโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้หนูเข็ดยาทั้งสองชนิด เป็นปัญหาที่จะต้องหาตัวยาใหม่มาใช้ในภายหลัง
2. ห้ามนำยาเบื่อหนูประเภทออกฤทธิ์เร็วมาใส่ในภาชนะใส่เหยื่อ เพราะจะทำให้หนูเข็ดยา เข็ดที่ใส่เหยื่อ แล้วไม่ยอมกินเหยื่อ
3. การผสมยาเบื่อหนู จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำในสลากยา หรือปรึกษาเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล (เกษตรตำบล เช่น ถ้าผสมยาประเภทออกฤทธิ์ช้ามากเกินไปจะทำให้หนูเข็ดไม่ยอมกินยาอีก หรือถ้าผสมน้อยเกินไปหนูกินยาจะไม่ตาย และเกิดความต้านทานยาในภายหลัง
4. การใช้ยาเบื่อหนูประเภทออกฤทธิ์ช้า ควรเตรียมยาเบื่อหนูให้พอใช้ตลอดฤดูกาลเพาะปลูก
5. การใช้ยาเบื่อหนู จะต้องวางเหยื่อพิษในที่ใส่เหยื่อเสมอ เพราะถ้าวางกับพื้นดิน ยาเบื่อหนูจะเกิดความชื้น และเสื่อมคุณภาพ ทำให้เสียเวลา และสิ้นเปลืองแรงงานโดยเปล่าประโยชน์
6. ควรสวมใส่เครื่องป้องกันร่างกายทุกครั้งที่ใช้ยาเบื่อหนู
7. ควรถอดเสื้อผ้าที่สวมใส่ซัก และอาบน้ำ ก่อนรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ
8. ภาชนะใส่ยาเบื่อหนูควรมีสลากติดครบถ้วนและเก็บภาชนะไว้ในที่เก็บยาเบื่อหนูโดยเฉพาะ และมีอากาศถ่ายเทได้ดี
ที่มา:- คณะทำงานการจัดการความรู้
สำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรอยุธยา