โรคฉี่หนู สาเหตุ และการป้องกันรักษา
โรคฉี่หนู หรือเลปโตสไปโรสิส (Leptospirosis)
เป็นโรคที่คนติดเชื้อมาจากสัตว์ สัตว์นำโรคที่พบมาก คือ หนู โดยหนูที่มีเชื้อถ่ายปัสสาวะลงน้ำ ทำให้น้ำมีเชื้อปนเปื้อน แล้วคนได้รับเชื้อนี้ทางแผลที่ผิวหนัง
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ Leptospira (เลปโตสไปรา)
การติดต่อ
มี สัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงเป็นแหล่งเชื้อโรค พบเชื้อมากในหนู และอาจพบเชื้อได้ในสัตว์อื่นๆ ได้แก่ โค กระบือ สุกร เมื่อหนูที่มีเชื้อถ่ายปัสสาวะลงน้ำแล้วเชื้อเข้าสู่ร่างกายคนได้ทางผิวหนัง ตามรอยแผล
อาการของการติดเชื้อ
อาการขึ้นอยู่กับชนิด และปริมาณของเชื้อ ภายหลังได้รับเชื้อ 2 – 26 วัน (โดยเฉลี่ย 10 วัน) คนที่ได้รับเชื้อจะมีอาการ:
1. มีไข้สูง ปวดหัว ปวดตามตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่น่อง บางคนบีบน่องแล้วจะเจ็บจนร้อง
2. มีไข้สูง และตาแดง หรือมีเลือดออกที่ตาขาว หรือมีตาเหลืองเป็นดีซ่าน
3. มีไข้สูง และถ่ายปัสสาวะออกน้อย หรือหอบ
โอกาส ที่คนจะเป็นโรคฉี่หนูจากการลุยน้ำท่วม มีน้อยกว่าร้อยละ 5 และส่วนใหญ่คนที่ได้รับเชื้อมักมีอาการไม่รุนแรง อัตราป่วยตายโดยเฉลี่ยต่ำมาก ตายไม่ถึงร้อยละ 5 ของคนที่เป็นโรคนี้ แต่จะเพิ่มขึ้นในคนไข้ สูงอายุ และอาจสูงถึงร้อยละ 20 ถ้าคนไข้มีอาการดีซ่าน และไตวาย หรือหอบ แต่ถ้าได้รับการรักษาที่รวดเร็ว และถูกต้องเพียงพอก็มักไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต
การวินิจฉัยโรค
จาก การสอบประวัติ และการวินิจฉัยจากการตรวจร่างกาย ตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะ ดังนั้น ผู้ป่วยควรบอกแพทย์ให้ทราบเกี่ยวกับประวัติการลุยน้ำด้วย
การดูแลรักษาผู้ป่วย
ผู้ ป่วยที่มีประวัติลุยน้ำ และมีอาการของการติดเชื้อ ขอให้ไปพบแพทย์ เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และทันท่วงที แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะที่ถูกต้องและเหมาะสมโดยเร็ว จะช่วยลดความรุนแรงของโรค และป้องกันอาการแทรกซ้อนของโรคได้
ผู้ ป่วยมีประวัติลุยน้ำ และมีไข้ โดยไม่มีอาการของเป็นหวัด มีน้ำมูก หรือไม่มีอุจจาระร่วง หรือไม่มีอาการปัสสาวะแสบขัดมาก่อน ขอให้พาผู้ป่วยไปรับการรักษาจากแพทย์ และถ้าผู้ป่วยมีไข้ ตาเหลืองเป็นดีซ่าน ถ่ายปัสสาวะออกน้อย หรือหอบ ขอให้รีบพาผู้ป่วยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลทันที
ที่ มา: ขจรศักดิ์ ศิลปโภชากุล. 2547.โรคฉี่หนู (เลปโตสไปโรสิส). [ประกาศโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ แนะนำการดูแลสุขภาพระยะหลังสถานการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ].
โรคฉี่หนู สาเหตุ และการป้องกันรักษา
สาเหตุของโรค
ไข้ ฉี่หนู เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียที่มีรูปร่างเกลียว มีชื่อว่า เลปโตสไปรา ( Leptospira ) จึงเรียกชื่อโรคนี้ว่าเลปโตสไปโรซิส ( Leptospirosis ) เชื้อนี้ทำให้เกิดโรคในคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว สุกร โค กระบือ ม้า แพะ แกะ ฯลฯ และที่สำคัญคือ หนู แต่สัตว์ต่าง ๆ อาจไม่แสดงอาการป่วย
การติดต่อ
โรค นี้ติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยสัตว์ที่เป็นโรคนี้จะขับถ่ายเชื้อโรคออกมากับปัสสาวะ เชื้อจะอาศัยได้ในดินที่ชื้นแฉะหรือมีน้ำขัง และเข้าสู่คนทางผิวหนังอ่อน เช่น ชอกนิ้วมือและเท้า บาดแผลหรือเยื่อเมือก ดังนั้นมักจะพบโรคนี้ในคนที่ทำงานเกียวข้องกับสัตว์ เช่น สัตวบาล เกษตรกร และผู้มีอาชีพสัมผัสกับน้ำหรือคนที่ย่ำน้ำในที่น้ำท่วมขังนาน ๆ
แหล่งระบาด
โรค นี้พบมากในเขตร้อนหรือเขตมรสุม เพราะมีสภาพอากาศที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของเชื้อ และมีสัตว์ที่เป็นรังโรคอยู่ชุกชุม ในประเทศไทยโรคนี้กระจายอยู่ทั่วประเทศ และมีรายงานพบผู้ป่วยมากในภาคอีสาน
อาการ
คน ที่ได้รับเชื้ออาจมีหรือไม่มีอาการ ในผู้ที่มีอาการมักแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อ 2-3 วัน จนถึง 2-3 สัปดาห์ อาการที่สำคัญ คือ มีไข้ ปวดศีรษะ ตาแดง ปวดกล้ามเนื้อโดยอย่างยิ่งที่น่อง ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการแทรกซ้อน คือ ตัวเหลือง ตาเหลือง ไตวาย หรืออาการทางสมองและระบบประสาท และอาจถึงตายได้ ( อัตราการตายสูงถึงร้อยละ 10-40)
การวินิจฉัย
โดยการซักประวัติผู้ป่วยเกี่ยวปัจจัยเสี่ยงของโรค อาการป่วย การตรวจร่างกาย การตรวจเลือดและปัสสาวะของผู้ป่วย
การรักษา
โรค นี้หากรักษาตั้งแต่ระยะแรก ๆ โดยให้ยาปฏิชีวนะเฉพาะโรคจะได้ผลดีกว่าปล่อยให้มีอาการรุนแรงแล้วจึงรักษา เนื่องจากอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ แต่ไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะมาใช้เอง เพราะอาจเป็นอันตรายจาการแพ้ยา หรือใช้ยาที่ไม่ถูกต้องได้ ดังนั้นควรพบแพทย์เพี่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้อง
การป้องกัน
• ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายโดยไม่เดินย่ำหรือแช่อยู่ในน้ำที่ท่วมขัง
• ถ้าเลี่ยงไม่ได้ให้ป้องกันการสัมผัสน้ำโดยใช้รองเท้าบู้ทยาง ถุงมือยาง เป็นต้น
• ควรฉีดวัคซีนให้สัตว์เลี้ยงเพื่อไม่ให้เป็นรังโรค
• กำจัดหนู และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะ เพื่อไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหนู
ที่มา: http://www.thaitravelclinic.com/th/Knowledge/leptospirosis-thai-article.html