อาเจนด้า 25 อีซี
(ต้องใช้โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านกำจัดแมลงเท่านั้น)
ปลวกเป็นภัยร้ายต่อการดำรงชีวิตของคนเรา อาคารบ้านเรือนเสียหายจากการที่ปลวกเข้าทำลายในเวลาเพียงไม่นานหลังจากสร้างเสร็จ ดังนั้นการเลือกวิธีปกป้องบ้านเรือนจากปลวกอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ การป้องกันกำจัดปลวกควรเริ่มทำตั้งแต่ก่อนการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน จะได้ผลดีใน
การควบคุมปลวก
ส่วนอาคารบ้านเรือนที่สร้างขึ้นมาก่อนแล้วนั้น ก็ต้องทำการป้องกันกำจัดปลวกด้วยเช่นกัน หากแต่วิธีการจะยุ่งยากซับซ้อนมากกว่า จุดมุ่งหมายที่สำคัญคือการสร้างแนวป้องกันปลวกรอบอาคารบ้านเรือน เพื่อที่ปลวกจะไม่สามารถเข้ามาทำลายอาคารบ้านเรือนของเราได้
สำหรับอาคารที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง สามารถดำเนินการป้องกันกำจัดปลวกได้ดังนี้
1. การติดตั้งแนวป้องกันปลวก เพื่อเป็นการป้องกันปลวกเข้าสู่อาคารบ้านเรือน
2. ใช้วิธีการพ่นหรือราดลงบนดินด้วยสารเคมีกำจักปลวก
3. การติดตั้งระบบท่อน้ำยากำจัดปลวกลงดิน ซึ่งเป็นระบบที่สามารถเติมน้ำยาของสารเคมีกำจัดปลวกได้ตลอดอายุของอาคารบ้านเรือน โดยที่ไม่ต้องเจาะพื้นอาคารบ้านเรือน
สำหรับอาคารที่ก่อสร้างก่อนนานแล้ว หรือ ไม่ได้วางระบบท่อสำหรับเทน้ำยากำจัดปลวก จะมีเพียงวิธีการเดียวที่สามรถป้องกันกำจัดปลวกได้ก็คือ การใช้สารเคมีกำจัดปลวก แบบพ่น, แบบราดลงบนดิน หรือ เจาะพื้นดินพื้นคอนกรีตโดยรอบให้เป็นรู ลึกประมาณ 1 เมตร กว้างประมาณ 15 ซม. แล้วอัดน้ำยาลงในรู โดยแต่ละรูมีความห่างกันประมาณ 2-3 เมตร
อาเจนด้า 25 อีซี : สารเคมีกำจัดปลวกจากเยอรมัน
สารเคมีจะกำจัดปลวกได้ดี ควรเป็นสารเคมีที่ได้รับการขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักคณะกรรมการ อาหารและยากระทรวงสาธารณสุข
ตัวอย่างเช่น น้ำยากำจัดปลวก “Agenda 25 EC” หรือ น้ำยากำจัดปลวกยี่ห้อ อาเจนด้า 25 อีซี มีคุณลักษณะพิเศษดังนี้
1. ออกฤทธิ์ปกป้องบ้าน และ กำจัดปลวก แบบตายต่อเนื่องทั้งรัง
2. ป้องกันกำจัดปลวกได้เป็นระยะเวลานาน
3. ฆ่าปลวกแบบไม่ไล่ปลวก
4. ไม่ระคายเคืองตา และ ผิวหนัง
5. กลิ่นอ่อนจาง ไม่ฉุน
6. ไม่ระเหยเป็นไอ
7. ไม่ละลายน้ำ
8. เกาะติดเม็ดดินได้ดี
9. ผลิตขึ้นตามมาตรฐานของไบเออร์ เยอรมันนี
กลไกการออกฤทธิ์ของ อาเจนด้า 25 อีซี
1. ปลวกที่ได้รับอาเจนด้าจะตายอย่างรวดเร็ว และจะไม่สามารถสร้างอุโมค์ทางเดินเข้าไปถึงโครงสร้างของสิ่งปลูกสร้างได้ ทำให้เกิด “แนวป้องกันปลวก” ที่จะช่วยหยุดปลวกไม่ให้เข้าไปทำลายตัวอาคารบ้านเรือน
2. ปลวกที่ได้รับสารอาเจนด้าจากดินเข้าไป ทั้งด้วยการสัมผัส การกิน โดยปลวกจะไม่ตายทันที ยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้ระยะหนึ่ง ปลวกงานที่ได้รับสารเคมีจะกลับลงไปยังรัง และส่งต่อสารอาเจนด้าไปให้ปลวกตัวอื่นๆ ในรัง ด้วยการป้อนอาหาร สัมผัสกัน และทำความสะอาดให้กัน สารอาเจนด้าจะถูกส่งผ่านอย่างต่อเนื่องคล้ายปฎิกิริยาลูกโซ่ และ ในที่สุดปลวกก็จะตายหมดทั้งรัง