วิธีกำจัดแมลงสาบแบบง่ายๆ ได้ผลสุดยอด
ปัญหาแมลงสาบในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ที่เราๆ ท่านๆ เจอกันในปัจจุบัน เป็นปัญหาที่เราสามารถควบคุมได้ง่ายๆ ได้ด้วยตัวของเราเอง ก่อนอื่นเราต้องรู้จักถึงลักษณะนิสัยขและพฤติกรรมของแมลงสาบก่อน เราจะได้กำจัดแมลงสาบได้อย่างถูกวิธี
แมลงสาบเป็นแมลงดึกดำบรรพ์ที่อาศัยอยู่บนโลกนี้มานานประมาณ 250 ล้านปี โดยสันนิษฐานจากหลักฐานซึ่งเป็นฟอสซิล (fossil) ที่ถูกค้นพบ ตามการจำแนกแมลงทางวิทยาศาสตร์ แมลงสาบถูกจัดกลุ่มไว้ในชั้น (class) lnsecta, อันดับ (order) Orthoptera บางครั้งพบว่าในตำราบางเล่ม แมลงสาบอาจจะถูกจัดอยู่ในอันดับ Dictyoptera หรือ BIattodea ก็ได้ การจำแนกที่แตกต่างกันเหล่านั้นเกิดขึ้นจากการใช้ลักษณะบางอย่างที่แตกต่างกันมาใช้ในการจำแนก แมลงสาบถูกจำแนกย่อยออกเป็น วงศ์ (family) ต่างๆ ได้ทั้งสิ้น 5 วงศ์ คือ BIattidae, BIattellidae, BIaberidae, cryptocercidae และ polyphagidae จนกระทั่งปัจจุบันนี้ แมลงสาบที่พบทั่วโลกมีทั้งสิ้นประมาณ 4000 ชนิด (species)
ความสำคัญทางการแพทย์และสาธารณสุขของแมลงสาบ
แมลงสาบมีความสำคัญทางการแพทย์และสาธารณสุข เนื่องจากเป็นพาหะสำคัญที่สามารถนำเชื้อโรคต่างๆ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา หรือ โปรโตชัว ติดต่อมาสู่มนุษย์ได้โดยที่เชื้อโรคเหล่านี้ผิดมากับขาหรือลำตัวแมลงสาบขณะออกหากินตามบริเวณที่สกปรกหรือเชื้อโรคเหล่านี้ อาจถูกแมลงสาบกินเข้าไปสะสมในระบบทางเดินอาหาร ทำให้เชื้อโรคต่างๆ สามารถปนเปื้อนในอาหารหรือภาชนะที่แมลงสาบเดินผ่านได้ กลไกการแพร่เชื้อโรคของแมลงสาบจึงเกิดจากจากพฤติกรรมการออกหาอาหารและการกินอาหารของแมลงสาบที่ชอบหาอาหารตามสิ่งปฏิกูล และระหว่างเดินจะสำรอกและถ่ายมูลไปตลอดทาง ดังนั้นโรคที่นำโดยแมลงสาบส่วนใหญ่จึงเป็นโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร เช่น อุจจาระร่วง บิด ไทฟอยด์และอาหารเป็นพิษ เป็นต้น อย่างไรก็ตามแมลงสาบยังสามารถเป็นพาหะก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ได้ เช่น โรคเรื้อน กาฬโรค ตับอักเสบ หอบหืด ภูมิแพ้ หรือ โรคผิวหนัง นอกจากนี้มีรายงานว่าแมลงสาบสามารถเป็นโฮสตกึ่งกลาง (Intermediate host) ของพยาธิหลายชนิด เช่น พยาธิปากขอ (Ancylostoma duodenale) พยาธิไส้เดือนกลม (Ascaris lumbricoides) พยาธิตืดแคระ (Hymenolepis nona) พยาธิตืดวัว (Taenia saginata) พยาธิใบไม้โลหิต (Schistosoma haematobium) เป็นต้น
จากรายงานการวิจัยในประเทศไทยและต่างประเทศ พบว่าแมลงสาบเป็นตัวการสำคัญ ที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้และโรคหอบหืดโดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็ก แมลงสาบจะปล่อยสารก่อภูมิแพ้ (Allergen) ออกมาสู่บริเวณที่เดินผ่านหรือฟ้งลอยอยู่ในอากาศ เมื่อมนุษย์สัมผัสสารก่อภูมิแพ้เหล่านี้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาพอสมควรจะทำให้เกิดโรคดังกล่าวได้ สารก่อภูมิแพ้เหล่านี้เชื่อว่าเกิดมาจากมูล หรือ สารบางอย่างบนตัวของแมลงสาบ ผลการวิจัยจากหลายๆรายงานพบว่า มีผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ และโรคหอบหืดจำนวนไม่น้อย ให้ผลการทดสอบที่เป็นบวกต่อการทดสอบกับสารก่อภูมิแพ้ที่สกัดจากแมลงสาบอเมริกัน และแมลงสาบเยอรมัน ดังนั้น จะเห็นได้ว่าแมลงสาบทั้งสองชนิดนี้เป็นตัวการสำคัญหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคดังกล่าวของมนุษย์
-
ชีววิทยาและนิเวศวิทยา
1.1 วงจรชีวิตและนิเวศวิทยา
แมลงสาบมีการเจริญเติบโตเป็นแบบไม่สมบูรณ์ (Incomplete metamorphosis) ซึ่งเป็นการเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปร่างและขนาด วงจรชีวิตประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ไข่ (egg) ตัวอ่อนหรือตัวกลางวัย (nymph) และตัวเต็มวัย (adult) ตัวอ่อนมีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัย โดยตัวอ่อนระยะแรกที่ออกจากไข่จะยังไม่มีปีกเมื่อผ่านการลอกคราบ 2 – 3 ครั้งจะเริ่มมีปีกและอวัยวะสืบพันธุ์ค่อยๆ เจริญเติบโตขึ้นจนเป็นตัวเต็มวันที่มีปีกเจริญเต็มที่และอวัยวะสืบพันธุ์สมบูรณ์
ไข่ของแมลงสาบมีปลอกหุ้มเรียกว่า ฝักไข่ (Ootheca) ลักษณะคล้ายเมล็ดถั่ว ส่วนมากมีสีน้ำตาลแดง จำนวนของไข่แต่ละฝักจะแตกต่างกันในแต่ละชนิด โดยทั่วไปจะมีประมาณฝักละ 16 – 30 ฟอง แมลงสาบสามารถวางไข่ได้หลายชุด บางชนิดอาจจะวางเพียง 4 – 8 ชด แต่บางชนิดอาจวางไข่ได้มากถึง 90 ชุด บางชนิดจะนำฝักไข่ติดตัวไปด้วยจนไข่ใกล้จะฟักจึงจะปล่อยออกจากลำตัว ลักษณะการวางไข่ของแต่ละชนิดแตกต่างกัน ส่วนใหญ่ชอบวางไข่ในตู้ทึบ ลิ้นชัก หรือ กล่องกระดาษ เป็นต้น นอกจากนี้อาจวางไข่อยู่ตามซอกหรือมุมห้อง บางครั้งอาจจะวางไข่ติดกับฝาผนังหรือเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ได้ ไข่ของแมลงสาบจะฟักภายในระยะเวลา 1 – 3 เดือน
ตัวอ่อนของแมลงสาบที่ฟักออกจากไข่ใหม่ๆ มีสีขาวและไม่มีปีก เมื่ออายุได้ 3 – 4 สัปดาห์จะมีการลอกคราบเกิดขึ้น การลอกคราบนี้เกิดขึ้นหลายครั้งจนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัย จำนวนครั้งในการลอกคราบของตัวอ่อนและระยะเวลาที่ใช้ในการเจริญเติบโต จนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัยแตกต่างกันตามแต่ละชนิดของแมลงสาบ
แมลงสาบตัวเต็มวัยมีลำตัวแบนรีรูปไข่ ความยาวของลำตัวตั้งแต่ 1 – 8 เซนติเมตร มีสีต่างๆ กันตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนจนถึงดำ บางชนิดอาจมีสีอื่นที่ค่อนข้างแปลกตา เช่น สีส้มหรือสีเขียว โดยทั่วไปแมลงสาบตัวเมียจะอ้วนกว่าตัวผู้ หัวมีลักษณะคล้ายผลชมพู่ คือ ด้านบนป้าน ส่วนด้านล่างเรียวลง สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ส่วนหัวจะติดกับส่วนอกโดยมีส่วนคอเล็กๆ เชื่อมอยู่ แมลงสาบอาจมีปีกหรือไม่มีปีกก็ได้ ปกติพวกที่มีปีกเจริญดี จะมีปีก 2 คู่ ปีกคู่แรกจะแข็งกว่าปีกคู่หลังทั้งนี้ปีกคู่หลังมีลักษณะเป็นเยื่อบางๆซ้อน ทับอยู่ใต้ปีกคู่แรกปีกของแมลงสาบจะปกคลุมลำตัวด้านบนไว้เกือบทั้งหมดและบาง ชนิดอาจมีปีกที่กุดสั้นก็ได้ แม้ว่าแมลงสาบจะสามารถบินได้ก็ตามแต่โดยทั่วไปแล้วมักเดินหรือวิ่งมากกว่า จะบินกรณีที่ถูกรบกวนเท่านั้น
แมลงสาบมีขา 3 คู่ ขาคู่หน้าเล็กกว่าขาคู่หลัง ขามีลักษณะเป็นขาสำหรับวิ่งจึงทำให้แมลงสาบวิ่งได้เร็วมาก มีหนวดยาวเรียวแบบเส้นด้าย 1 คู่ ขามีขนเล็กๆ จำนวนมากอยู่รอบๆ หนวด ปากมีลักษณะเป็นแบบกัดเคี้ยว สามารถกินอาหารได้ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ แต่ส่วนมากชอบกินเศษอาหารประเภทแป้งหรือน้ำตาล ซากสัตว์หรือแมลงที่ตายแล้ว น้ำลาย เสมหะ อุจจาระ กระดาษหรือแม้แต่ผ้า เป็นต้น แมลงสาบมีนิสัยชอบกินอาหารและถ่ายอุจจาระออกมาตลอดทางที่เดินผ่าน ชอบออกหากินเวลากลางคืนและมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม แต่มีบางชนิดที่ออกหากินในเวลากลางวัน
แมลงสาบมีแหล่งกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่น ปัจจุบันพบว่ามีการแพร่กระจายไปทั่วโลก อาจจะติดไปกับสินค้าจำพวกหีบห่อหรือลังไม้ที่ขนส่งไปทางเรือหรือรถบรรทุก อย่างไรก็ตามยังคงพบแมลงสาบในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนมากกว่าพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็น แมลงสาบชอบอาศัยอยู่ตามบ้านเรือน ท่อระบายน้ำ ร้านขายของชำ ร้านอาหาร ห้องครัวในโรงพยาบาลหรือโรงแรม โกดังเก็บสินค้าทางการเกษตรหรือกระดาษ เป็นต้น ชอบอาศัยในที่มืด อบอุ่นและมีความชื้นสูง ถ้าพบเห็นแมลงสาบแม้เพียงเล็กน้อยในเวลากลางวันแสดงว่าพื้นที่นั้นมีแมลงสาบชุกชม นอกจากนี้การที่จะดูว่าแมลงสาบมีความชุกชุมหรือไม่ ยังสังเกตได้จากการพบปากของแมลงสาบที่ตายแล้ว คราบที่ลอกเมื่อแมลงสาบมีการเปลี่ยนวัย ฝักไข่ที่ฟักแล้วรวมทั้งมวลของแมลงสาบ
1.2 ชนิดแมลงสาบที่สำคัญ
จากผลการสำรวจของ Asahina and Hasegawa (1981) Asahina (1983) สุวัฒนา จึงวิวัฒนาภรณ (2527) และ Tawatsin et al. (2001) สรุปได้ว่าปัจจุบันแมลงสาบที่พบในบ้านเรือนในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 12 ชนิด
1.2.1 แมลงสาบอเมริกัน American cockroach
เป็นแมลงสาบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในบ้านเรือน ลำตัวสีน้ำตาลแดงมันวาวบน pronotum มีจุดสีดำขนาดใหญ่ 2 จุด ล้อมรอบด้วยวงเส้นสีเหลืองอาจเต็มวงหรือมีเพียงครึ่งวงก็ได้ ส่วนรอบนอกสุดเป็นวงสีดำ หนวดเรียวและยาวกว่าลำตัว ตัวผู้ยาว 33 – 40 มิลลิเมตร ตัวเมียยาว 30 – 35 มิลลิเมตร ทั้งสองเพศมีปีกเจริญดีและยาวถึงปลายของส่วนท้อง ปีกมีสีน้ำตาลแดงตลอดทั้งซีกและไม่มีแถบสีเหลืองที่ขอบปีก
แมลงสาบอเมริกันเป็นแมลงสาบที่พบมากตามท่อระบายน้ำ ทำให้แมลงสาบชนิดนี้แพร่กระจายไปยังที่พักอาศัยอื่นก็ได้ดี รวมทั้งสามารถพบได้ตามบริเวณ ห้องน้ำ ในครัว ตู้กับข้าว ห้องเก็บของ กลองกระดาษที่ใช้เก็บวัสดุสิ่งของ ตู้หนังสือ ลิ้นชักและใต้ฝ้าเพดาน เป็นต้น การควบคุมแมลงสาบชนิดนี้ในท่อระบายน้ำได้สามารถลดความชกชุมของแมลงสาบชนิดนี้ลงได้
1.2.2 Large brown cockroach (Periplaneta Brunnea)
เป็นแมลงสาบที่มีขนาดเล็กกว่าแมลงสาบอเมริกันเพียงเล็กน้อย ลักษณะโดยทั่วไปก็คล้ายคลึงกับแมลงสาบอเมริกัน แต่ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงคล้ำ บน pronotum มีจุดสีดำขนาดใหญ่ 2 จุด ล้อมรอบด้วยวงเส้นสีเหลือง แต่วงเส้นสีเหลืองนี้ค่อนข้างพร่ามัว ไม่ค่อยชัดเจนเหมือนของแมลงสาบอเมริกัน ส่วนรอบนอกสุดเป็นวงสีดำเหมือนกัน หนวดเรียวและยาวกว่าลำตัว ตัวผู้ยาว 30 – 37 มิลลิเมตร ตัวเมียยาว 28 – 35 มิลลิเมตร ทั้งสองเพศมีปีกเจริญดีและยาวถึงปลายของส่วนท้อง
ปีกมีสีน้ำตาลแดงตลอดทั้งปีก และไม่มีแถบสีเหลืองที่ขอบปีก โดยมากมักพบแมลงสาบชนิดนี้ได้ทั่วไปในบ้านเรือน เช่นเดียวกับแมลงสาบอเมริกัน บางครั้งอาจพบแมลงสาบชนิดนี้กัดกระดาษ ผ้า สิ่งปรักหักพังที่ทับถมอยู่ เพื่อนำมาปกคลุมหรือซ่อนฝักไข่ไว้
1.2.3 แมลงสาบออสเตรเลีย Australia cockroach (Periplaneta Australasiae)
เป็นแมลงสาบที่มีขนาดเล็กกว่าแมลงสาบอเมริกันเพียงเล็กน้อย ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายกับแมลงสาบอเมริกัน แต่ลำตัวสีน้ำตาลแดงเข้มกว่า และปีกมีแถบสีเหลืองอ่อนบริเวณขอบปีกข้างละ 1 แถบ แถบนี้จะยาวประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวปีก ลักษณะคล้ายสายสะพายเป้ บน pronotum มีจุดสีดำและยาวกว่าลำตัว ทั้ง 2 เพศมีปีกเจริญดี และยาวถึงปลายของส่วนท้อง ตัวผู้ยาว 30 – 33 มิลลิเมตร ตัวเมียยาว 28 – 31 มิลลิเมตร แมลงสาบออสเตรเลียชอบสภาพแวดล้อมคล้ายกับแมลงสาบอเมริกัน อาจพบบริเวณนอกบ้านได้บ้าง เช่น ตามโรงเรือนเพาะชำต้นไม้ โดยเข้ามากัดกินต้นไม้ในโรงเรือน
1.2.4 Smokybrown cockroach (Periplaneta Fuliginosa)
เป็นแมลงสาบที่มีลักษณะใกล้เคียงกับแมลงสาบอเมริกัน แต่ลำตัวสีน้ำตาลเข้มมันวาวทั้งตัวผู้และตัวเมีย ยาวประมาณ 30 – 34 มิลลิเมตร หนวดเรียวและยาวกว่าลำตัว ทั้ง 2 เพศมีปีกเจริญดี และยาวคลุมถึงปลายของส่วนท้อง พบมากในสหรัฐอเมริกา หลายประเทศในทวีปยุโรป ญี่ปุ่น และจีน มีนิสัยชอบบินตอมแสงไฟในเวลากลางคืน อาจพบได้ทั่วไปในโรงเก็บรถ กองไม้ และอาจเป็นแมลงศัตรูในโรงเรือนเพาะชำได้ มีรายงานการสำรวจพบแมลงสาบชนิดนี้เป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2544 (Tawatsin et al., 2001) สำรวจพบที่จังหวัดเชียงใหม่ทั้งในและนอกบ้าน บริเวณบ้านที่สำรวจพบคือ ห้องนอน และ ห้องครัว
1.2.5 แมลงสาบเยอรมัน German cockroach (Blattella Gemanica)
เป็นแมลงสาบขนาดเล็ก มีหนวดเรียวและยาวกว่าลำตัว ตัวผู้ยาว 11 – 13 มิลลิเมตร ตัวเมียยาว 11 – 15 มิลลิเมตร ทั้ง 2 เพศมีปีกเจริญดี ปีกอาจยาวหรือสั้นกว่าส่วนท้องเล็กน้อย มีแถบสีดำอยู่ระหว่างตาทั้ง 2 ข้าง ลำตัวสีน้ำตาลขีด แต่เป็นประกาย ขามีสีอ่อนกว่าลำตัว pronotum มีสีพื้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน และมีแถบสีดำ 2 แถบ พาดขนานตามแนวยาวของลำตัว ในอาคารบ้านเรือนจะพบได้ในห้องครัว ชั้นวางของ ลิ้นชัก ซอกโต๊ะ หรือ กล่องเก็บของ เป็นต้น ในช่วงเวลากลางวันจะพบหลบซ่อนตามพื้นที่ที่เข้าไม่ถึง เช่น พื้นที่ระหว่างอ่างน้ำ และผนัง ถ้ามีความชุกชุมมาก จะพบบนเพดาน และช่องว่างระหว่างผนังห้อง นอกจากนั้นยังพบได้ตามรอยแยกของทางเดินสนามหญ้า พุ่มไม้ และในถังขยะ
1.2.6 Smaller German cockroach (Blattela Lituricollis)
เป็นแมลงสาบที่มีขนาดและลักษณะคล้ายกับแมลงสาบเยอรมันมาก มีหนวดเรียวและยาวกว่าลำตัว ทั้งตัวผู้และตัวเมียยาวประมาณ 11 – 13 มิลลิเมตร ทั้งสองเพศมีปีกเจริญดีและปีกยาวกว่าลำตัวมาก มีแถบสีดำอยู่ระหว่างตาทั้งสองข้าง ลำตัวสีน้ำตาลซีดอ่อนกว่าแมลงสาบเยอรมัน pronotum มีสีพื้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนและมีแถบสีดำ 2 แถบพาดขนานตามแนวยาวของลำตัว แต่แถบดำนี้ค่อนข้างเล็กกว่าแมลงสาบเยอรมัน ในบ้านพบว่าชอบเกาะอยู่ตามฝาผนัง ส่วนนอกบ้านพบตามพื้นรอบตัวบ้าน
1.2.7 Harlequin cockroach (Neostylopyga Rhombifolia)
ชาวบ้านบางพื้นที่เรียกว่าแมลงสาบผี เป็นแมลงสาบที่มีขนาดปานกลางจนถึงขนาดใหญ่ มีหนวดเรียวและยาวกว่าลำตัว ตัวผู้ยาว 18 – 26 มิลลิเมตร ตัวเมียยาว 22 – 31 มิลลิเมตร ทั้งสองเพศปีกเห็นเป็นเพียงเกล็ดปีกและมีเฉพาะปีกหน้า pronotum มีจุดสีดำขนาดใหญ่ 2 จุด รอบๆ สองจุดนี้เป็นสีเหลือง ส่วนรอบนอกสุดของ pronotum เป็นสีดำ ลงตัวเป็นลวดลายสวยงามสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำสลับกับสีเหลีอง ในอาคารบ้านเรือนจะพบแมลงสาบชนิดนี้มากในกล่องกระดาษ หรือภาชนะที่ใช้เก็บวัสดุสิ่งของ ห้องครัว ตู้กับข้าวหรือตู้เก็บของ ในต่างประเทศมีรายงานพบแมลงสาบชนิดนี้ตามไร่ของพืชชนิดต่างๆ เช่น ไร่มะเขือเทศ เป็นต้น
1.2.8 Lobster cockroach (Nauphoeta Cinerea)
เป็นแมลงสาบขนาดปานกลาง ลักษณะอ้วนเตี้ย ส่วนท้องค่อนข้างอ้วนกลม ขาสั้น หนวดสั้นกว่าลำตัว ตัวผู้ยาว 22 – 28 มิลลิเมตร ตัวเมียยาว 22 – 33 มิลลิเมตร ทั้งสองเพศมีปีกเจริญดีสีน้ำตาลหม่น ปีกสั้นกว่าส่วนท้องแต่ยาวกว่าครึ่งหนึ่งของส่วนท้อง ลำตัวสีน้ำตาลหม่นออกเทา pronotum มีลวดลายขยุกขยิกสีน้ำตาล ขอบทั้งสองข้างของ pronotum มีแถบสีขาวอยู่นอกสุดและจัดเข้ามาเป็นแถบสีดำ ในอาคารบ้านเรือนพบบริเวณพื้นครัว ผู้เก็บของในห้องครัว กล่องเก็บวัสดุ หรืออาหารแห้ง
1.2.9 Brown-banded cockroach (Supella Longipalpa)
เป็นแมลงสาบขนาดเล็ก มีหนวดเรียวยาวกว่าลำตัว ตัวผู้ยาว 12 – 14 มิลลิเมตร ตัวเมียยาว 9 – 13 มิลลิเมตรทั้งสองเพศมีปีกเจริญดี ปีกของตัวผู้จะเรียวยาวปกคลุมส่วนท้องทั้งหมด ปีกของตัวเมียสั้นและกลมกว่าของตัวผู้ ขอบปีกหน้ามีแถบสีน้ำตาลอ่อนพาดตามแนวขวางสองแถบ ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงสีน้ำตาลเข้ม pronotum มีสีดำเป็นรูปคล้ายระฆังอยู่ตรงกลาง ขอบด้านข้างทั้งสองของ pronotum เป็นสีขาวหรือน้ำตาลอ่อน ส่วนมากพบในบ้านตามกล่องเก็บของ ตู้เก็บเอกสาร ตู้เสื้อผ้า หลังกรอบรูป ลิ้นชัก ใต้หรือหลังเฟอร์นิเจอร์ ไม่ค่อยพบในครัว ชอบวางไข่ตามขอบหรือภายในตู้เฟอร์นิเจอร์ บางคนจึงเรียกแมลงสาบเฟอร์นิเจอร์ (Furniture cockroach)
1.2.10 แมลงสาบสุรินัม Surinam cockroach (Pycnoscelus Surinamensis)
เป็นแมลงสาบขนาดปานกลาง ตัวผู้ยาว 13 – 17 มิลลิเมตร ตัวเมียยาว 15 – 18 มิลลิเมตร หนวดสั้นกว่าลำตัว ปีกเจริญดีมีสีอ่อนกว่าสีของลำตัว pronotum มีสีน้ำตาลเข้มจนเกือบดำ ขอบบนของ pronotum มีแถบ1 สีเหลืองขยายยาวจนคลุมขอบด้านข้างหรืออย่างน้อยจะเป็นแถบหรือจุดสีเหลืองตรงขอบด้านข้าง ขอบหลังของ pronotum เป็นมุมแหลมมน ส่วนท้องค่อนข้างอ้วนกลม แมลงสาบชนิดนี้ชอบอาศัยอยู่ภายนอกอาคารบ้านเรือน มีรายงานว่าชอบขุดเจาะดินลงไปเพื่อใช้เป็นที่ลอกคราบของตัวอ่อน และเพศเสียจะใช้เป็นที่ผลิตตัวอ่อนจึงพบแมลงสาบนี้ในโพรงดินหรือบริเวณที่มีก้อนหินทับหรือใต้แผ่นไม้กระดาน อาจพบให้ฟางข้าว ดินชื้นแฉะ หรือตามบริเวณรากของต้นพืชโดยกัดกินรากพืชหรือแทะเปลือกลำต้น และยังพบได้ตามโรงเรือนเพาะชำ บ่อยครั้งพบว่าเข้ามาอาศัยในบ้านเรือนได้เช่นกันโดยอพยพเข้ามาอยู่ใต้หลังคา
1.2.11 แมลงแกลบ Burrowing cockroach (Pycnoscelus Indicus)
เป็นแมลงสาบที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกับแมลงสาบสุรินัม ตัวผู้ยาว 17 – 23 มิลลิเมตร ตัวเมียยาว 16 – 24 มิลลิเมตร หนวดสั้นกว่าลำตัว ปีกเจริญดีมีสีน้ำตาลอ่อนตัดกับสีดำของลำตัว pronotum มีสีดำ และขอบด้านหน้าถึงด้านข้างมีแถบสีขาว หรือสีคราม หรืออาจจะมีแถบสีนี้เฉพาะที่ด้านหน้าเท่านั้นก็ได้ ขอบหลังของ pronotum เป็นมุมแหลมมน แมลงสาบชนิดนี้มีรายงานพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเพียงครั้งเดียว เมื่อปี พ.ศ. 2527 (สุวัฒนา จึงวิวัฒนาภรณ์. 2527) มักพบในบริเวณที่ค่อนข้างชื้นหรือมีดิน เช่น ใต้กระถางต้นไม้ ถังขยะ หรือ ใต้แผ่นไม้ เป็นต้น
1.2.12 Hebardina Concinna
เป็นแมลงสาบขนาดเล็ก ตัวผู้ยาวประมาณ 18 มิลลิเมตร ส่วนตัวเมียยาว ประมาณ 15 มิลลิเมตร ลงตัวและปีกสีน้ำตาลดำ ขาสีอ่อนกว่าลำตัว มีปีกเจริญดีความยาวของปีกคลุมไปจนถึงปลายท้อง มีรายงานพบในประเทศไทยเพียงครั้งเดียวเมื่อปี พ.ศ. 2526 (Asahina, 1983)
1.2.13 แมลงสาบยักษ์มาดากัสการ์ (Madagascan giant hissing cockroach)
เป็นแมลงสาบที่ไม่พบในประเทศไทย แต่เริ่มเป็นที่สนใจเนื่องจากมีผู้ลักลอบนำเข้ามาเพื่อเลี้ยงขายเป็นสัตว์เลี้ยงแปลกๆ หรือเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์อื่น เช่น ปลา ไก่ จัดอยู่ในวงศ์ BIattidae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gromphadorhina portentosa มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเกาะมาดากัสการ์ แถบชายฝั่งของทวีปอัฟริกา เป็นแมลงสาบตัวโต มีขนาดความยาว 2 – 3 นิ้ว กว้าง 1.5 นิ้ว ลำตัวมีสีน้ำตาลเข้ม ไม่มีปีก ตัวผู้มีเขาบ้างละ 1 อันที่ด้านข้างของอกปล้องแรกและจะมีความว่องไวกว่าเพศเมีย วงจรชีวิตเหมือนกับแมลงสาบทั่วไปคือประกอบด้วยระยะไข่ ระยะตัวอ่อน และตัวเต็มวัย ตัวเมียเริ่มผสมพันธุเมื่ออายุ 6 – 7 เดือน ออกลูกเป็นตัวจากฝักไข่ที่อยู่ในตัวแม่ ตัวอ่อนใช้เวลาเจริญเติบโตอยู่ในตัวแม่ 60 – 70 วัน ตัวเมียสามารถออกลูกได้ 3 – 4 ครั้งต่อปี แต่ละครั้งจะออกลูกประมาณ 20 – 40 ตัว ตัวอ่อนมีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัยแต่ตัวเล็กกว่า ลอกคราบ 6 ครั้ง ใช้เวลา 6 – 7 เดือน จึงเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งตัวเต็มวันมีอายุอยู่ได้ 2 – 5 ปี ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม และความอุดมสมบูรณ์ของอาหาร ปกติโดยทั่วไปแมลงสาบมาดากัสการ์อาศัยอยู่ในป่าตามพื้นดินและพืชรก เวลากลางวันซ่อนตัวอยู่ตามใต้ขอนไม้หรือท่อนซุงผุๆ ออกหากินในเวลากลางคืน กินเศษใบไม้และผลไม้ที่หล่นตามพื้นดิน
จากการศึกษาของศูนย์ WHO Salmonella and Shigella Center กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ตรวจพบเชื้อแบคทีเรีย 3 ชนิด คือ Salmonella Albany, Vibrio parahaemolyticus และ Bacillus cereus พบตัวอ่อนของพยาธิตัวตืดและไข่ของพยาธิตัวจัดในแมลงสาบมาดากัสการ์ที่มีผู้ลักลอบนำเข้าในประเทศไทย จึงควรหลีกเลี่ยงไม่นำสัตว์ดังกล่าวเข้ามาในประเทศ
-
วิธีการควบคุมแมลงสาบ
2.1 การควบคุมโดยใช้สารเคมี
หลักการเลือกรูปแบบวัตถุอันตรายเพื่อใช้กับสถานที่ทำบริการ มีดังนี้
แบบฝุ่น (Dust) ควรพิจารณาเลือกใช้ในบริเวณที่ไม่สามารถฉีดพ่นวัตถุอันตรายชนิดน้ำได้ เช่น บริเวณแผงสวิทซ์ไฟ ปลั๊กไฟฟ้า เครื่องจักร หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ
แบบเหยื่อ (Bait) หรือ เจลแมลงสาบ ควรใช้ภายหลังการฉีดพ่นแมลงสาบส่วนใหญ่หมดไปแล้วหรือใช้ในบริเวณที่มีปริมาณแมลงสาบไม่ชุกชุมมากนัก
แบบน้ำ (Liquid spray) ใช้ฉีดพ่นบริเวณแหล่งหลบซ่อนอาศัย และแหล่งอาหารของแมลงสาบ วัตถุประสงค์เพื่อให้แมลงสาบตายทันทีหรือเพื่อให้มีฤทธิ์ตกค้างเป็นระยะเวลานาน
2.2 การควบคุมโดยวิธีการสุขาภิบาลและสุขาภิบาลสิงแวดล้อม
โดยใช้หลัก 5 ส. (สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ สร้างนิสัย)
2.3 การควบคุมโดยวิธีกล
เช่น การใช้เหยื่อ กับดัก การใช้สารเพศล่อ
2.4 การควบคุมโดยวิธีกายภาพ
การตรวจสอบสินค้า วัสดุสิ่งของ และการใช้เครื่องดูดฝุ่น
2.5 การใช้สารควบคมการเจริญเติบโต
ซึ่งได้แก่ สาร Insect growth regulator หรือ IGR เป็นสารที่ออกฤทธิ์ช้าและให้ผลในระยะยาว
-
การจัดการแมลงสาบ
3.1 การสำรวจ
การสำรวจสถานที่บริการแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ การสำรวจก่อนการปฏิบัติงาน และภายหลังการปฏิบัติงาน ทั้งสองขั้นตอนควรเป็นการสำรวจตามมาตรฐาน คือ “การสำรวจที่ละเอียดถ้วนทั่ว (a thorough survey)” มีชุดสวมใส่โดยเฉพาะขณะปฏิบัติงาน มีอุปกรณ์ความปลอดภัยที่จำเป็น เช่น หมวกกันกระแทก หน้ากาก รองเท้านิรภัย เป็นต้น และมีอุปกรณ์การสำรวจ เช่น ไฟฉาย ไขควง หลอดเก็บตัวอย่างแมลง กระดานรองเขียนเพื่อจดบันทึก เป็นต้น
ก่อนการปฏิบัติงาน
เพื่อตรวจหาชนิด จำนวนและความเสียหายจากการทำลายของแมลงสาบ จัดทำแผนผังของสถานที่ทั้งภายในและภายนอกตัวอาคาร รวมทั้งสภาพแวดล้อมบริเวณใกล้เคียงโดยรอบที่จะส่งผลกระทบต่อการจัดการ เช่น แหล่งหลบซ่อนอาศัย แหล่งอาหารและปัจจัยอื่นๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการระบาด เป็นต้น พร้อมจัดทำรายงานผลการสำรวจ (Survey finding report) เพื่อนำเสนอลูกค้าพร้อมการเสนอราคาหรือเมื่อมีการตกลงทำสัญญาบริการ รายงานดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในการวางแผนการเข้าทำบริการโดยฝ่ายบริการหรือฝ่ายปฏิบัติการได้
3.2 การควบคุมโดยไม่ใช้สารเคมี
เป็นการควบคุมเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี เพื่อลดปัญหาการปนเปื้อนและการตกค้างของสารเคมีในผลิตภัณฑ์ สินค้า ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเพื่อป้องกันอันตรายจากสารเคมีที่อาจเกิดขึ้นกับทั้งผู้ให้บริการ ผู้รับบริการและผู้ที่เกี่ยวข้อง อาจดำเนินการได้ดังนี้
3.2.1 การควบคุมโดยวิธีการสุขวิทยาและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม (Sanitation Management) โดยใช้หลักการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม (5ส) ดังนี้
สะสาง แยกและขจัดทิ้งของที่ไม่จำเป็นเพื่อมิให้สกปรกรกรุงรังอันจะเป็นแหล่งอาศัยและเพาะพันธุ์ของแมลงสาบ
สะดวก จัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบ มีระยะห่างระยะเคียงที่เหมาะสม และจัดวางบนชั้นเพื่อให้สามารถสำรวจปัญหาแมลงได้โดยง่าย ไม่ควรวางสิ่งของชิดติดผนังหรือวางบนพื้น โดย ตรง
สะอาด ทำความสะอาดอาคารสถานที่ทั้งภายในและภายนอก กำจัดแหล่งน้ำ แหล่งอาหารและแหล่งหลบซ่อนอาศัยของแมลงสาบ จัดให้มีโปรแกรมการล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำเพื่อป้องกันการอดตันหรือหมักหมมของเศษขยะและอาหาร
สุขลักษณะ จัดสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงานและที่พักอาศัยให้สะอาด ถูกหลักอนามัย เน้นการดูแลจุดสำคัญ ดังนี้
– อุด ปิดกั้น สกัดกั้นการปิดทางเข้า – ออก ซ่อมแซมรอยแตก รอยร้าว หรือรอยทรุดหัวของอาคารไม่ให้เป็นแหล่งหลบซ่อนพักอาศัยของแมลง
– จัดที่ทิ้งขยะที่มีฝาปิดมิดชิด นำไปทิ้งในเวลาที่เหมาะสม ขยะเปียก และขยะประเภทเศษอาหาร ควรมีห้องขยะที่สามารถปิดกั้นไม่ให้เข้ามาระบาดได้
สร้างนิสัย ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การจัดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง และช่วยกันดูแลสอดส่องไม่ให้มีการระบาดของแมลงในพื้นที่รับผิดชอบของตนเอง
3.2.2 การควบคุมโดยวิธีกล
– ใช้กาวดักแมลงสาบชนิดที่มีเหยื่อล่อ (Food attractant)
– ใช้กล่องดักจับแมลงสาบแบบต่างๆ (Trapping station)
– ใช้สารเพศล่อ (sex pheromone)
3.2.3 การควบคุมโดยวิธีกายภาพ
– สำรวจตรวจสอบวัสดุ สิ่งของ สินค้าและวัตถุดิบที่จะนำเข้ามาสู่อาคาร ว่ามีแมลงสาบหรือไข่ของแมลงสาบติดเข้ามาด้วยหรือไม่
– ใช้เครื่องดูดฝุ่นดูดจับแมลงสาบที่แหล่งหลบซ่อนหรือเมื่อพบเห็นตัว
3.2.4 การใช้สารยับยั้งการเจริญเติบโต
ใช้กันแพร่หลายในต่างประเทศ ในเมืองไทยมีการนำมาใช้นานแล้วเช่นกันแต่ยังไม่เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับเหมือนในต่างประเทศ IGR เป็นสารที่ออกฤทธิ์ช้าและให้ผลในระยะยาว สามารถกำจัดแมลงสาบไต้ค่อนข้างครบถ้วนสมบูรณ์และมีความปลอดภัยสูง
3.3 การควบคุมการโดยใช้สารเคมี
การนำสารเคมีมาใช้ในการกำจัดแมลงสาบ ควรเป็นทางเลือกสุดท้ายเมื่อการใช้มาตรการอื่นๆ โดยไม่ใช้สารเคมีแล้วไม่บังเกิดผล แต่อย่างใดก็ตามต้องตั้งอยู่บนหลักเกณฑ์การพิจารณา และการดำเนินงานอย่างละเอียดและรอบคอบ
วิธีทำบริการโดยใช้สารเคมีกำจัดแมลงสาบ
3.3.1 การวางแผนการทำบริการ
ควรจัดทำตารางการวางแผนการบริการ โดยกำหนดวิธีการและความถี่ในการทำบริการให้เหมาะสมกับลักษณะสถานที่รับบริการนำสารเคมีมาใช้เท่าที่จำเป็น สลับสับเปลี่ยนสารเคมีและรูปแบบการทำบริการ เพื่อป้องกันแมลงที่อาจสร้างความต้านทานสารเคมีรูปแบบเดิมแผนการทำบริการอาจทำเป็นรายไตรมาส ตามตัวอย่างใน “เอกสารแนบหมายเลข 1”
3.3.2 การทำบริการ
เพื่อให้ฝ่ายปฏิบัติงานหรือฝ่ายบริการได้ทราบรายละเอียดของวิธีการ ทำบริการสารเคมีที่ใช้ในการจัดการแมลงสาบ ความเหมาะสมหรือข้อตกลงแต่ละสถานที่รับบริการ จึงควรจัดทำ “รายละเอียดการทำบริการ (treatment details)” แนบไว้กับบัตรบริการด้วย ตามตัวอย่างใน “เอกสารแนบหมายเลข 2”
การฉีดพ่นสารเคมี
เป็นการฉีดพ่นบนตัวแปลงที่จุดหลบซ่อนอาศัยหรือฉีดเคลือบพื้นที่เป้าหมาย เพื่อฆ่า หรือ ขับไล่แมลงสาบออกจากที่หลบซ่อน เพื่อให้มีการตกค้างของวัตถุอันตรายให้แมลงสาบคลานมาถูกต้องสัมผัส
การฉีดพ่นสารเคมีแบ่งเป็นการฉีดพ่นภายในและภายนอกตัวอาคาร ทั้งนี้เพื่อสามารถกำหนดความถี่และสารเคมีที่ใช้ก็แตกต่างกันไป หากกำหนดการทำบริการเป็นรูปแบบรายไตรมาส การบริการฉีดพ่นเดือนที่ 1 ของพื้นที่ภายในอาคารจะเป็นการทำบริการใหญ่ และละเอียดกว่าในเดือนที่ 3 ของแต่ละไตรมาสซึ่งเป็นการฉีดพ่นเฉพาะจุด (Spot treatment) เท่าที่เห็นสมควร ขณะที่การทำบริการพื้นที่ภายนอกตัวอาคารจะเป็นการฉีดพ่นใหญ่และละเอียดเหมือนๆ กันทุกเดือน
การใช้เหยื่อกำจัดแมลงสาบสำเร็จรูป (Gel Bait)
เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุด สามารถทำได้ด้วยตัวเอง เพียงแต่ต้องทำตามฉลาก คำแนะนำอย่างเคร่งครัด
ปกติจะนำเหยื่อ เจลกำจัดแมลงสาบ สำเร็จรูปมาใช้ก็เพื่อเป็นเสริมบริการ ทั้งที่การใช้วิธีนี้เพียงอย่างเดียวก็สามารถจัดการแมลงสาบได้อย่างเบ็ดเสร็จแล้ว บางสถานที่บริการวิธีนี้สามารถนำไปใช้ทำบริการในจุดที่ไม่สะดวกหรือไม่ปลอดภัยที่จะทำการฉีดพ่นสารเคมีหรือใช้แบบฝุ่นได้ เช่น ที่อุปกรณ์ปรุงอาหาร เครื่องชงกาแฟ เครื่องแฟกซ์ โทรศัพท์ เป็นต้น การใช้เจลกำจัดแมลงสาบ สามารถวางได้ทั้งรายเดือนและรายไตรมาส โดยในเบื้องต้นเราจะวางเจลกำจัดแมลงสาบในพื้นที่ ที่มีแมลงสาบชุกชุม โดยวางหรือป้ายเจลแมลงสาบ ขนาดประมาณหัวไม้ขีด สัก 2-3 หยด ต่อ พื้นที่ 1 ตารางเมตร โดยในเบื้องต้นอาจวางทุกเดือน หลังจากนั้น หากปริมาณแมลงสาบลดลงเหลือน้อยแล้ว ก็สามารถวางเจลกำจัดแมลงสาบเป็น 3 เดือนครั้ง สามารถทำได้ด้วยตัวคุณเอง โดยใช้เจลกำจัดแมลงสาบ ที่ใช้งานง่ายและสะดวก ปลอดภัย สามารถทำได้ที่บ้าน คอนโด หรือที่พักอาศัย
การพ่นหมอกควัน (Fogging)
วิธีนี้อย่างเดียวสามารถกำจัดแมลงสาบได้หากเป็นพื้นที่ปิด เช่น ห้องเก็บของ โกดัง หรือ คลังสินค้าขนาดเล็ก เป็นต้น แต่ต้องใช้สารเคมีที่ออกฤทธิ์เร็วและสามารถขับไล่แมลงให้ออกจากที่หลบซ่อนได้เน้นพ่นเข้าไปตามซอกมุม ใต้ชั้นวางหรือกองหีบห่อสินค้า จากนั้นทำการปิดประตู-หน้าต่างอบไว้ ในการควบคุมแมลงสาบตามท่อหรือรางระบายน้ำจำเป็นต้องมีการฉีดเคลือบสารเคมีไว้ตรงปากช่อง ร่องหรือขอบฝาท่อเอาไว้ก่อน จากนั้นจึงทำการพ่นหมอกควันเข้าไปให้หนาแน่น ควันจะขับไล่และผลักดันแมลงสาบให้หนีขนมาสัมผัสสารเคมีที่ฉีดเคลือบเอาไว้
3.3.3 ภายหลังการทำงาน
เพื่อต้องการติดตามตรวจสอบผลการทำบริการ ว่าแมลงสาบลดลงหรือไม่พร้อมจัดทำรายงานการติดตามผล (Follow-up inspection report) เก็บบันทึกไว้อ้างอิง เพื่อทำการตรวจสอบ