ปลวกขึ้นบ้านทำไงดี
วันนี้ผมมีบทความดีๆ เกี่ยวกับวิธีการกำจัดปลวกขึ้นบ้านแบบง่ายๆ โดยไม่ต้องจ้างบริษัทกำจัดปลวก มาฝากครับ ต้องขออนุญาตและขอบคุณคุณสมหวัง วิทยาปัญญานนท์ ด้วยครับสำหรับบทความดีๆ เช่นนี้ ซึ่งผมคิดว่า บ้านของเราควรดูแล ให้ดี จะได้ไม่ต้องมานั่งช้ำใจ ปวดหัวและเสียเงิน ภายหลังครับ
การต่อสู้กับปลวกขึ้นบ้าน
Fighting to Termite in House
โดย คุณสมหวัง วิทยาปัญญานนท์
- บทนำ
ปลวกขึ้นบ้าน กินจนบ้านพัง โดยเฉพาะบ้านไม้หากขึ้นกินโครงหลังคา หากไล่ไม่ทันแค่ 2 ปี โครงหลังคาไม้ผุพังร่วงหล่น
บ้านที่มีโครงหลังคาไม้ตีฝ้าปิดไม่ได้สร้างช่องขึ้น (Man Hole) ก็ขึ้นไปตรวจตรงจัดการไม่ได้อย่าลืมสร้างบ้านต้องมีช่องขึ้นห้องใต้หลังคา
ไม้แต่ละชนิดทุกต่อปลวกไม่เท่ากัน ไม้ยาง ไม้ยางพารา ไม้ท่อน ไม้ที่ทนต่อปลวกปานกลางก็มีประดู่ มะค่า ตะเคียนหิน ไม้ที่ทนต่อปลวกมากมีไม้สัก ไม้สะเดา ไม้ตะกู ไม้จำปา ไม้มะหาด เปลือกไม้จะไม่ทนต่อปลวก แก่นไม้จะทนมากกว่า ไม้อายุมากๆ จะแข็ง แข็งน้อย ปลวกไม่ชอบ
- การแก้ปัญหาปลวก
การแก้ปัญหาปลวกในสมัยปัจจุบันนิยมใช้สารเคมี อัดฉีดที่ดินโดนเสา คานคอดิน ทำระบบอัดน้ำยาตามระบบท่อ เติมน้ำยาลงทุกปี มีบริการกำจัดปลวก อัดฉีดทุกปี ปลวกไม่เห็นหายไปไหนเหมือนเกษตรเคมีเสียครั้งละ 7-8 พันบาท
วิธีการต่อสู้กับปลวกมีดังนี้
2.1. ดัดแหล่งอาหาร
อย่าเก็บหนังสือด้วยกล่องลูกฟูก ปลวกจะได้กลิ่นแล้วหาทางไปหาทิ้งกล่องลูกฟูกไปให้ใส่หนังสือลงกล่องพลาสติกแล้วทิ้งลูกเหม็นไปสัก 1 ลูก กลบกลิ่นหนังสือกระดาษหรือใช้การบูร พิมเสนใส่ก็ได้
2.2. ตัดทางเดินปลวก
ปลวกจะมียุทธวิธีการขึ้นไปหาอาหาร ใบไม้ที่ล่วงหล่นใส่ระเบียงซ้อนทับ ปลวกจะเดินใต้ใบไม้เข้าหาตัวบ้านและแหล่งอาหาร ให้กวาดใบไม้ทิ้งให้สะอาด
ปลวกจะชอบขึ้นจากดิน ทุลุวงกบประตูหลังน้ำ ในการก่อสร้าง ช่างบางคนชอบเอาวงกบที่ปลายจรดดิ ปลวกจะขึ้นมาตามรอบแตกปูนแล้วขึ้นแทรกมาตามวงกบไม้ ช่อนตัวหลบเดินทางตามช่องว่างระหว่างไม้กับคอนกรีต ควรตัดให้สั้นขึ้นแล้วเอาปูนพอกเป็นเสาแทน
ปลวกขึ้นที่ห้องใต้บันได เราใช้วิธีดินถมพื้นแล้วเทปูน ปลวกจะขึ้นจากดินขึ้นมาแล้วกินฝาห้องใต้บันได
ช่วงบันไดไม้ติดกับพื้นชั้นว่างและพื้นชั้นบนให้ตัดปลายไม้แล้วใช้ปูนปั้น ต่อแทนไม้เพราะจะเห็นปลวกบุกจากไม้ปาร์เก้แล้วใช้บันไดไม้เป็นทางเดิน
เคยแกล้งทางเดินปลวก โดยการรื้อท่อทางเดินปลวกแล้วเอากาวดักหนูมาทาบวางให้ปลวกจับแล้วเดินต่อไม่ได้
เคยเอาน้ำส้มสายชูบ้าง น้ำส้มควันไม้บ้างมาทาที่ท่อทางเดิน ปรากฎว่าปลวกเงียบไป 3-4 วัน แล้วปุกต่อ
2.3. ใช้โครงสร้างทนปลวกแทน
โดยเฉพาะช่องแสงที่ชานบันไดที่ยาวถึงเกือบถึงหลังคา หากเป็นไม้มีต้นไม้บังแสงความชื้นมี ปลวกจะไต่ขึ้นและพยายามขึ้นหลังคาจากประสบการณ์ ต้องรื้อวงกบดังกล่าวทิ้ง แล้วเปลี่ยนเป็นอิฐแก้วแทนหรือเปลี่ยนเป็นโครงอลูมิเนียมแทนไม้ซึ่งได้ผลดี
โครงสร้างทนปลวก หากโครงหลังคาไม้เปลี่ยนเป็นเหล็กตัวซีหรือเหล็กกล่องก็จะช่วยได้มาก
ใครว่ายิปซัมบอร์ดทนปลวก บนหลังคาในห้องใต้หลังคา ปลวกกัดกินกระดาษปิด ทับบนยิปซัมบอร์ด
ใช้ผนังคอนกรีต ตีนช้างเสาคอนกรีต ให้พ้นจากระดับพื้นดินสักอย่างน้อย 50 ซม. ก็จะทำให้ปลวกขึ้นบ้านลำบาก
2.4. สร้างตัวสะกัดทางขึ้นบ้าน
บ้านโบราณเขาออกแบบบ้าน คล้ายตู้กับข้าวที่เสาทุกต้น ช่วงบันไดขึ้นบ้าน หรืออื่นที่ต่อกับพื้นเขาทำแบบถ้วยรองตู้กับข้าวเป็นเข้าภาชนะรับของเหลงได้ แล้วใส่น้ำหรือน้ำมันเครื่อง หล่อไว้ป้องกัน มด ปลวก ข้ามมาขึ้นบ้าน
เคยทดลองใช้กาวดักหนูขีดป้ายขวางทางเดินอุโมงค์ปลวกพบว่าปลวกหมดปัญญาขึ้นบ้านต่อ
2.5. เลือกวัสดุทนปลวก
วัสดุทนปลวกก็มีคอนกรีต อลูมิเนียมเหล็ก สักกะสี พลาสติก แต่หากเป็นพวกไม้ต้องเลือกไม้ทนปลวก เช่นแก่นๆ แข็ง หนักๆ เหม็นๆ หรือมีฤทธิ์เป็นสมุนไพร ไม้พวกสัก มะหาด มะค่า จำปา ตะกู หลุมพอ ตะเคียนหิน จะทนทานแต่หากเป็นเปลือกกระพี้บางครั้งก็จะถูกปลวกโจมตีบ้าง สำหรับไม้ที่ปลวกชอบคือ ไม้พวกเขาๆ มีแป้งมาก เช่น ยาง ยางพารา
2.6. ทางเคลือบด้วยสารไล่ปลวก
หลายๆ คนนิยมซื้อสารเคมีทาไม้ป้องกันปลวก มอด ซึ่งมีหลายยี่ห้อ
วิธีทางปลอดภัย ผสมผสานทางชีวภาพ อาจใช้น้ำมันเครื่องเสีย (ใช้แล้ว) เอามาทาเป็นโลชั่นไม้ซึ่งอาจเป็นตระกูลน้ำมันอื่น เช่น น้ำมันเกียร์ ดีเซล น้ำมันก๊าซผสมเทียนขึ้ผึ้ง ซึ่งควรทดลองก่อนโดยตัดชิ้นไม้ทาเคลือบสารแล้วเอาไปหมกบนรังปลวกแล้วเอาดินกลบก็จะรู้ว่าปลวกที่นั้นๆ มีนิสัยอย่างไรชอบกินอะไร
2.7. ปรับเนื้อไม้ให้ทนต่อปลวก
สิ่งที่น่าสนใจกำลังทดลองอยู่มี
– นำไม้มาแช่น้ำ จนไม้จมในน้ำจุลินทรีย์อีเอ็มให้จุลินทรีย์กินในน้ำจุลินทรีย์อีเอ็มให้จุลินทรีย์กินแป้งน้ำตาลในเนื้อไม้หมด
– นำไม้มาแช่น้ำ 1 เดือน ให้แป้งในเนื้อไม้เน่าก่อน นำมาผึ่งให้แห้งและใช้งานต่อไป
– หมกในน้ำโคลนที่มีจุลินทรีย์รักาเนื้อไม้นาน 1 เดือน แล้วค่อยนำมาล้างใช้
– นำไม้มาแช่ในน้ำหมักจุลินทรีย์ที่มีเปลือกแก่นกินไม้สักนาน 7-15 วัน จนไม้จม
– แช่น้ำหมักสะเดาจนไม้จม
– แช่น้ำปูนขาว จนไม้จม
– แช่น้ำโซเดียมซิลิเกต (Na sio2) เพื่อตกผลึกซิลิก้าในเนื้อไม้แบบไม้กลายเป็นหิน
– แช่น้ำหมกแกลบเผาเพิ่มซิลิก้าหรือขี้เถ่า กากชานอ้อย 1 เดือน
2.8. เลี้ยงปลวกให้อยู่ภายนอกบ้าน
วิธีนี้พยายามสร้างสิ่งแวดล้อมนอกบ้านไม้ที่ห่างออกจากบ้านสักอย่างน้อย 2-5 เมตร โดยใช้วิธีศึกษาว่าปลวกกลุ่มนี้ชอบกินอาหารอะไร เช่นกิ่งไม้ผุเล็กๆ กล่องลูกฟูก ก็เอาไปเลี้ยงโดยการขุดหลุมแถวรังปลวกสัก 50 ซม. ลึก 25 ซม. แล้วสุมอาหารลงไปทำไว้ 3-5 หลุม แล้วเปิดทีละหลุมให้ไก่กินหมุนเวียนกันไป เป็นการเลี้ยงปลวกให้ไก่กิน ไก่จะอ้วนพี
2.9. อัดน้ำยากำจัดปลวกลงพื้น
วิธีนี้คนที่ชอบสารเคมี นิยมอัดน้ำยาฆ่าปลวกลงใส่พื้น โดยวิธีฉีดอัดลงไปให้ซึมซับในดินหากเราใช้วิธีเดียวกันแต่เปลี่ยนเป็นน้ำปูนขาว น้ำสะเดาสกัด น้ำมันเครื่อง น้ำมันดีเซล ก็จะดูปลอดภัยกว่า
หมายเหตุ สารเคมีกำจัดปลวกต้องใช้โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านกำจัดแมลงเท่านั้น
2.10. ค้นหาทะลายรัง
ให้ประกาศสงครามกับปลวก ค้นหาทะลายรัง
สังเกตนิสัยปลวก
– กลัวเสียงมากกว่ากลัวแสง โดยทดสอบการเปิดแสงสว่างทั้งวันทั้งคืน แล้วดูการต่อท่อทางเคมี เทียบกับเดินขึ้นเดินลงทั้งคืน
เครื่องมือค้นหา
– ฝึกจมูกให้ลดจำกลิ่นแสบน้ำส้มของปลวกให้ได้พอเข้าใกล้ก็จะไล่ล่าจุดซ่อนตัวได้
– ฝึกฟังเสียงตอนกลางคืน เสียงจะดังแกรกๆ ตอนปลวกกินไม้กินกระดาษ อาจใช้วิธีหูแนบผนัง หรือใช้หูฟังแพทย์มาช่วยก็ได้ล่อปลวกออกมาให้เห็น
– เอากระดาษลูกฟูกหรืออาหารโปรดมาล่อ
2.11. ใช้ศัตรูปลวกมาช่วยควบคุมปริมาณประชากรปลวก
ศัตรูปลวกอาจเป็น
– มดดำ
– จุลินทรีย์บางชนิดต้องวิจัยต่อ
– ไส้เดือนเส้นด้าย ฉีดพ่นปลวกแล้วจะทำทำให้ปลวกกินอาหารไม่ได้ตายแล้วตัวอื่นมากินปลวกตายก็จะแพร่ระบาดไป
– ไก่
– จิ้งจก
– ตัวกินมด
– เลี้ยงปลวกแดงเป็นเชื้อเห็ดโคนจอมปลวก
- บทส่งท้าย
ปลวกดูแล้วน่ากลัวเพราะทำให้บ้านในฝันของเราพังทะลาย หลัยคายุบได้ภายในเวลาแค่ 2 ปี หากเราทิ้งไว้ควรหมั่นไปดูเป็นช่วงๆ แล้วควบคุมปลวกอย่าให้ลุกลาม ออกแบบโครงสร้างบ้านให้สะดวกต่อการตรวจตราอย่าเก็บอาหารโปรดของปลวกไว้ในบ้านเด็ดขาดหากจำเป็นต้องเปลี่ยนกลิ่นก่อน สิ่งที่น่ากลัวมากกว่าคือมอดไม้เพราะอยู่ในรูกัดกินแล้วปล่อยขี้ไม้ลงพื้นรู จึงเป็นเจาะดิ่งขึ้นเอาน้ำมันน้ำยาฉีดเข้าไปกำจัดได้ยากซึ่งต้องระวังด้วย เช่นกัน
กำจัดปลวกแบบผู้เชี่ยวชาญ
เราต้องทำการรื้อ ห้อง ที่เก็บอุปกรณ์ เหล่านี้มาปัดทำความสะอาด จัดเรียงเสียใหม่ให้ดูสะอาด เป็นระเบียบ ให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และทำให้ห้องเก็บของโปร่งแสง ให้แสงส่องเข้ามาในห้องหรือสถานที่ที่ต้องการให้ได้มากที่สุด เนื่องจากธรรมชาติของปลวก เป็นแมลงที่กลัวแสงแดด ที่ส่องสว่างจ้า กับอากาศแห้งๆ เนื่องจากลำตัวของปลวกมีผนังลำตัวบอบบาง ไม่สามารถทนแสงแดด และความชื้นต่ำๆ ได้ ถ้าเราทำการจัดรระเบียบห้องเก็บของให้สะอาดปลอดโปร่ง ก็จะลดอัตราการขยายเจริญเติบโตของปลวกลงไปได้ส่วนหนึ่งเลยทีเดียว ถ้าหากเราพบปลวกเป็นจำนวนมาก ให้ทำการกำจัดปลวก โดยทำความสะอาดพื้นที่ปลวกเข้ามากัดกินอุปกรณ์ ของเรา หลังจากนั้นให้ทำการประเมินความรุนแรงในการทำลายของปลวก ถ้าประเมิณแล้วทำการกำจัดปลวกด้วยมือไม่ไหว เราก็ใช้วิธีการต่อไปว่าจะเลือกใช้น้ำยากำจัดปลวก หรือ ระบบเหยื่อล่อกำจัดปลวก หรืออาจใช้วิธีกำจัดปลวกด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ หรือใช้ บริการจากบริษัทกำจัดปลวกก็ได้ ไม่ต้องรอช้า เพราะบริษัทฯเหล่านี้จะมีความรู้ ความชำนาญเป็นพิเศษ กำจัดปลวกได้ทันที ไหนก็ต้องเกี่ยวข้องกับปลวกอยู่แล้ว การบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับปลวก แน่นอนว่าอาจต้องมีค่าใช้จ่ายบ้าง
ในแต่ละบริษัทกำจัดปลวกก็มีอัตราค่าบริการกำจัดปลวกไว้ไม่เหมือนกัน (ขึ้นอยู่กับเทคนิคและวิธีการ ) แต่ก็จะเป็นประโยชน์ มาก เนื่องจาก ปลวก กับการกำจัดปลวก เป็นเรื่องปกติของชีวิตประจำวันไปแล้วครับ บริษัทปลวก เค้าจะมีความเข้าใจธรรมชาติของปลวก รู้จักวิธีการกำจัดปลวกที่หลากหลาย ก็จะเป็นผลดีกับเจ้าของบ้านมากกว่า การเลือกใช้บริการก็ขึ้นอยู่กับคุณเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะจัดการกับ ปลวก กัน อย่างไร? หรือจะทำด้วยตัวคุณเองก็ได้แล้วแต่สะดวก