โรคฉี่หนู สาเหตุ และการป้องกันรักษา

โรคฉี่หนู สาเหตุ และการป้องกันรักษา

โรคฉี่หนู

โรคฉี่หนู หรือเลปโตสไปโรสิส (Leptospirosis)

เป็นโรคที่คนติดเชื้อมาจากสัตว์  สัตว์นำโรคที่พบมาก  คือ  หนู   โดยหนูที่มีเชื้อถ่ายปัสสาวะลงน้ำ ทำให้น้ำมีเชื้อปนเปื้อน  แล้วคนได้รับเชื้อนี้ทางแผลที่ผิวหนัง

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย   ชื่อ   Leptospira  (เลปโตสไปรา)

การติดต่อ

มี สัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงเป็นแหล่งเชื้อโรค  พบเชื้อมากในหนู  และอาจพบเชื้อได้ในสัตว์อื่นๆ  ได้แก่  โค  กระบือ  สุกร  เมื่อหนูที่มีเชื้อถ่ายปัสสาวะลงน้ำแล้วเชื้อเข้าสู่ร่างกายคนได้ทางผิวหนัง ตามรอยแผล

อาการของการติดเชื้อ

อาการขึ้นอยู่กับชนิด และปริมาณของเชื้อ  ภายหลังได้รับเชื้อ 2 – 26 วัน  (โดยเฉลี่ย 10 วัน)   คนที่ได้รับเชื้อจะมีอาการ:

1.    มีไข้สูง  ปวดหัว  ปวดตามตัว  โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่น่อง  บางคนบีบน่องแล้วจะเจ็บจนร้อง
2.    มีไข้สูง และตาแดง  หรือมีเลือดออกที่ตาขาว หรือมีตาเหลืองเป็นดีซ่าน
3.    มีไข้สูง และถ่ายปัสสาวะออกน้อย หรือหอบ

โอกาส ที่คนจะเป็นโรคฉี่หนูจากการลุยน้ำท่วม  มีน้อยกว่าร้อยละ 5   และส่วนใหญ่คนที่ได้รับเชื้อมักมีอาการไม่รุนแรง  อัตราป่วยตายโดยเฉลี่ยต่ำมาก  ตายไม่ถึงร้อยละ 5  ของคนที่เป็นโรคนี้  แต่จะเพิ่มขึ้นในคนไข้   สูงอายุ  และอาจสูงถึงร้อยละ 20  ถ้าคนไข้มีอาการดีซ่าน และไตวาย หรือหอบ  แต่ถ้าได้รับการรักษาที่รวดเร็ว และถูกต้องเพียงพอก็มักไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต

การวินิจฉัยโรค

จาก การสอบประวัติ และการวินิจฉัยจากการตรวจร่างกาย ตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะ ดังนั้น ผู้ป่วยควรบอกแพทย์ให้ทราบเกี่ยวกับประวัติการลุยน้ำด้วย

 

การดูแลรักษาผู้ป่วย

ผู้ ป่วยที่มีประวัติลุยน้ำ  และมีอาการของการติดเชื้อ  ขอให้ไปพบแพทย์  เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง  และทันท่วงที  แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะที่ถูกต้องและเหมาะสมโดยเร็ว  จะช่วยลดความรุนแรงของโรค  และป้องกันอาการแทรกซ้อนของโรคได้

ผู้ ป่วยมีประวัติลุยน้ำ และมีไข้  โดยไม่มีอาการของเป็นหวัด มีน้ำมูก หรือไม่มีอุจจาระร่วง หรือไม่มีอาการปัสสาวะแสบขัดมาก่อน ขอให้พาผู้ป่วยไปรับการรักษาจากแพทย์ และถ้าผู้ป่วยมีไข้ ตาเหลืองเป็นดีซ่าน ถ่ายปัสสาวะออกน้อย หรือหอบ ขอให้รีบพาผู้ป่วยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลทันที

ที่ มา: ขจรศักดิ์ ศิลปโภชากุล. 2547.โรคฉี่หนู (เลปโตสไปโรสิส). [ประกาศโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ แนะนำการดูแลสุขภาพระยะหลังสถานการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ].

โรคฉี่หนู สาเหตุ และการป้องกันรักษา

สาเหตุของโรค
ไข้ ฉี่หนู  เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียที่มีรูปร่างเกลียว  มีชื่อว่า เลปโตสไปรา ( Leptospira ) จึงเรียกชื่อโรคนี้ว่าเลปโตสไปโรซิส ( Leptospirosis ) เชื้อนี้ทำให้เกิดโรคในคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว สุกร โค กระบือ ม้า แพะ แกะ ฯลฯ  และที่สำคัญคือ หนู แต่สัตว์ต่าง ๆ อาจไม่แสดงอาการป่วย

การติดต่อ
โรค นี้ติดต่อจากสัตว์สู่คน  โดยสัตว์ที่เป็นโรคนี้จะขับถ่ายเชื้อโรคออกมากับปัสสาวะ เชื้อจะอาศัยได้ในดินที่ชื้นแฉะหรือมีน้ำขัง  และเข้าสู่คนทางผิวหนังอ่อน เช่น ชอกนิ้วมือและเท้า บาดแผลหรือเยื่อเมือก ดังนั้นมักจะพบโรคนี้ในคนที่ทำงานเกียวข้องกับสัตว์ เช่น สัตวบาล เกษตรกร และผู้มีอาชีพสัมผัสกับน้ำหรือคนที่ย่ำน้ำในที่น้ำท่วมขังนาน ๆ

 

แหล่งระบาด
โรค นี้พบมากในเขตร้อนหรือเขตมรสุม  เพราะมีสภาพอากาศที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของเชื้อ  และมีสัตว์ที่เป็นรังโรคอยู่ชุกชุม  ในประเทศไทยโรคนี้กระจายอยู่ทั่วประเทศ และมีรายงานพบผู้ป่วยมากในภาคอีสาน

อาการ
คน ที่ได้รับเชื้ออาจมีหรือไม่มีอาการ  ในผู้ที่มีอาการมักแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อ 2-3 วัน  จนถึง 2-3 สัปดาห์  อาการที่สำคัญ คือ มีไข้  ปวดศีรษะ  ตาแดง ปวดกล้ามเนื้อโดยอย่างยิ่งที่น่อง  ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง  ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการแทรกซ้อน  คือ ตัวเหลือง ตาเหลือง ไตวาย หรืออาการทางสมองและระบบประสาท  และอาจถึงตายได้ ( อัตราการตายสูงถึงร้อยละ 10-40)

การวินิจฉัย
โดยการซักประวัติผู้ป่วยเกี่ยวปัจจัยเสี่ยงของโรค  อาการป่วย การตรวจร่างกาย การตรวจเลือดและปัสสาวะของผู้ป่วย

การรักษา
โรค นี้หากรักษาตั้งแต่ระยะแรก ๆ โดยให้ยาปฏิชีวนะเฉพาะโรคจะได้ผลดีกว่าปล่อยให้มีอาการรุนแรงแล้วจึงรักษา  เนื่องจากอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้  แต่ไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะมาใช้เอง  เพราะอาจเป็นอันตรายจาการแพ้ยา  หรือใช้ยาที่ไม่ถูกต้องได้  ดังนั้นควรพบแพทย์เพี่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้อง
โรคฉี่หนู
การป้องกัน
• ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายโดยไม่เดินย่ำหรือแช่อยู่ในน้ำที่ท่วมขัง
• ถ้าเลี่ยงไม่ได้ให้ป้องกันการสัมผัสน้ำโดยใช้รองเท้าบู้ทยาง ถุงมือยาง เป็นต้น
• ควรฉีดวัคซีนให้สัตว์เลี้ยงเพื่อไม่ให้เป็นรังโรค
• กำจัดหนู และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะ เพื่อไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหนู

ที่มา: http://www.thaitravelclinic.com/th/Knowledge/leptospirosis-thai-article.html