วิธีการกำจัดหนูในนาข้าว โรงสีข้าว ฟาร์มปศุสัตว์ โรงงานผลิตอาหารสัตว์

วิธีการกำจัดหนูในนาข้าว โรงสีข้าว ฟาร์มปศุสัตว์ และ โรงงานอาหารสัตว์

ก่อนที่เราจะเริ่มทำการกำจัดหนู เราควรทำความรู้จักชีววิทยาของหนูเบื้องต้นก่อนที่จะเริ่มทำการกำจัด เป็นการรู้เขา รู้เราเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

ชีววิทยาของหนู

หนูเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม  จัดในอันดับ สัตว์ฟันแทะ (Order Rodentia)  โดยหนูที่เป็นสัตว์ศัตรูพืชจัดอยู่ในวงศ์ Muridae  ในประเทศไทยที่สำคัญมี 3 สกุล ได้แก่ สกุลหนูพุก (Bandicota spp.) สกุลหนูท้องขาว (Rattus spp.)  และสกุลหนูหริ่ง (Mus spp.)

สัตว์ฟันแทะ มีลักษณะเด่นที่สำคัญ 2 ประการ  คือ

ประการที่ 1

หนูจะมีฟันแทะคู่หน้าที่ขากรรไกรบน 1 คู่ และที่ขากรรไกรล่างอีก 1 คู่    โดยฟันแทะ 2 คู่นี้จะยาวตลอดชีวิตของสัตว์    ดังนั้นสัตว์ในอันดับนี้ จึงมีนิสัยชอบกัดแทะตลอดเวลา   เพื่อกินอาหารและเพื่อลับฟันแทะให้สั้นอยู่ในระดับที่มันจะหุบปากเคี้ยวอาหารได้สะดวก     ไม่เช่นนั้นฟันคู่หน้าของมันทั้งบนล่างจะงอกยาวออกมา      โดยเฉลี่ยตลอดชีวิตของหนูฟันจะยาวประมาณ 6 – 9 นิ้ว นอกจากนี้เคลือบฟันของฟันแทะคู่หน้ามีความแข็งแกร่งเทียบค่าตาม Mohr scale เท่ากับ 5    เมื่อเปรียบเทียบกับความแข็งของตะกั่ว สังกะสี และ เหล็กซึ่งมีค่าเท่ากับ 1.5, 2.5  และ 4.5 ตามลำดับ (Mohr scale  เป็นมาตรวัดความแข็งของแร่ธาตุโดยให้แร่ธาตุที่แข็งที่สุด คือ เพชร มีค่าเท่ากับ 10 และแร่ธาตุที่แข็งน้อยที่สุดคือ ผงทัลคัม มีค่าเท่ากับ 1)  ดังนั้นหนูจึงสามารถกัดแทะสายไฟ หรือถังพลาสติกได้ไม่ยาก

ประการที่ 2

ลักษณะสำคัญของหนูประการที่ 2 คือ สัตว์ฟันแทะ  จะมีช่องว่างระหว่างฟันแทะคู่หน้า  ช่องว่างนี้จะช่วยให้หนูกลืนอาหารได้ในขณะที่มันกำลังแทะ อาหาร หรือรองรับเศษวัสดุที่กัดแทะไว้ก่อนใช้ลิ้นดุนทิ้งออกไปจากปาก โดยหนู 1 ตัวจะกินอาหารต่อวันในปริมาณประมาณร้อยละ 10 ของน้ำหนัก ตัวมันเท่านั้น  เฉลี่ยแล้วหากหนูตัวหนึ่งมีน้ำหนักประมาณ 200 กรัม  มันจะกินอาหารหนักประมาณ 7.3 กิโลกรัมต่อปี

วิธีการกำจัดหนูในนาข้าว โรงสีข้าว ฟาร์มปศุสัตว์ โรงงานผลิตอาหารสัตว์

การขยายพันธ์ของหนู

หนูเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีประสิทธิภาพในการขยายพันธุ์ได้เร็วมาก   หนูในสกุลหนูพุกตัวเมียสามารถผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป ในขณะที่ตัวผู้อายุ 6 เดือนขึ้นไป  ส่วนในสกุลหนูท้องขาว  วัยเจริญพันธุ์ของตัวเมียอยู่ระหว่างอายุ 2 – 3 เดือน    ในขณะที่ตัวผู้อายุ 3 เดือนขึ้นไป

หนูในสกุลหนูหริ่ง  ตัวเมียผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่อายุเพียง 1 – 1.5 เดือน  และตัวผู้อายุ 1 – 2 เดือน มีวงรอบการเป็นสัดประมาณ 4-8 วัน    และมีระยะตั้งท้องตั้งแต่ 17 – 28 วัน และหลังจากคลอดลูกแล้ว  ภายใน 24 ชั่วโมง หนูเพศเมียจะสามารถผสมพันธุ์ได้อีก ดังนั้นมันจึงสามารถออกลูกได้ปีละไม่น้อยกว่า 4 – 6 ครอก   ครอกละประมาณ 4 – 10 ตัว  ด้วยเหตุนี้เราจึงพบลูกหนูสองครอก  ที่มีอายุห่างกันประมาณ 20 วัน จากแม่หนูตัวเดียวกัน ในรูบ่อยครั้ง ในปีหนึ่ง ๆ หนู 1 คู่สามารถมีลูกหลานได้มากกว่า 1,000 ตัว  ในสภาพที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ตลอดปี และไม่มีศัตรูธรรมชาติ

ลูกที่เกิดใหม่จะไม่มีขน และไม่ลืมตา จนอายุ 14 – 17 วัน  จึงจะลืมตา และเริ่มออกหากินได้เองเมื่ออายุประมาณ 4-5 สัปดาห์ เจริญเติบโต มีขนปกคลุมร่างกายเรียบตามลำตัวและขา ส่วนหางของหนูจะเกลี้ยงไม่มีขนปกคลุมแต่มีเกล็ดเล็กๆ ปกคลุมแทน และระหว่างเกล็ดอาจมีขนเล็กสั้นขึ้นประปราย  โดยหางเป็นอวัยวะช่วยปรับสมดุลในขณะปีนป่าย  โดยปกติหนูจะออกหากินในเวลากลางคืน แต่บางครั้งเมื่อมีประชากรหนาแน่น หรืออาหารขาดแคลน หนูจะหลีกเลี่ยงการแก่งแย่งอาหารในเวลากลางคืน โดยออกหาอาหารในเวลากลางวันทดแทน   หนูพุกใหญ่จะออกหากินได้ไกลประมาณ 100 เมตร  จากที่อยู่อาศัย  ส่วนหนูนาใหญ่และหนูหริ่งนาจะออกหาอาหารได้ไกลในระยะประมาณ 50 เมตร  และ 10 เมตร    ตามลำดับ

ถ้าเกิดภาวะขาดแคลนอาหาร  หนูจะอพยพไปตามทิศทางของแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์กว่า

วิธีการกำจัดหนูในนาข้าว โรงสีข้าว ฟาร์มปศุสัตว์ โรงงานผลิตอาหารสัตว์

ระบบประสาทสัมผัสของหนู

ประสาทสัมผัสของหนูมีจุดด้อยเพียงอย่างเดียว คือ ประสาทสัมผัสทางตา หนูเป็นสัตว์ตาบอดสี เห็นภาพเป็นสีดำ-ขาว เท่านั้น แต่ธรรมชาติ ได้สร้างประสาทสัมผัสอื่นๆ มาชดเชยโดยขณะที่หนูออกหากินจะใช้ประสาทสัมผัสจากขนใต้ท้อง และใต้อุ้งท้องของมันช่วยบอกให้รู้ว่าสภาพพื้นที่ ที่เดินทางไปนั้นเป็นอย่างไร  ใช้ขนข้างจมูกหรือหนวดช่วยคลำทาง และใช้จมูกดมกลิ่น  เพื่อค้นหาแหล่งอาหารในระยะไกลได้เป็นอย่างดี  รวมทั้งสามารถส่งเสียงบอกหนูตัวอื่นๆ ถึงแหล่งอาหาร หรืออันตรายได้ในระยะไกลๆ  ทั้งนี้เพราะหนูมีประสาทรับฟังเสียงได้ดีมากนอกจากนี้ประสาทในการรับรสอาหารที่ลิ้นของหนูก็ไวเช่นกัน     สามารถตรวจชิมสารที่แปลกปนในอาหารปกติที่มันเคยกินอยู่ประจำได้โดย ง่าย    ดังนั้นหนูจึงขยาดต่อสารพิษได้ง่าย

ปกติหนูเป็น สัตว์ที่ว่ายน้ำได้เก่ง และสามารถปีนป่ายได้ดีในพื้นที่ที่มีน้ำท่วม    เช่นในนาข้าวหนูสามารถทำรังบนกอข้าว หรือกอหญ้าโดยกัดต้นและใบข้าว หรือหญ้าเป็นวัสดุทำรัง   ส่วนหนูที่อาศัยอยู่ในสวนไม้ผล เช่น โกโก้  มะพร้าว  ปาล์มน้ำมัน    สามารถปีนป่าย และกระโดดจากที่สูง บางครั้งจะทำรังอยู่อาศัยบนต้นพืชนั้น โดยไม่ลงพื้นดินเลย เช่น มะพร้าว หรือต้นปาล์ม  ที่มีทางใบซ้อนกัน หนูสามารถกระโดด หรือไต่จากต้นหนึ่งไปสู่อีกต้นหนึ่งได้โดยง่าย

ในภาวะที่ เกิดภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ไฟป่า หรือภาวะแห้งแล้งต่อเนื่องเป็นเวลานาน เมื่อหนูขาดแคลนอาหารหรือมีประชากรหนูหนาแน่นมากจนอาหารในแหล่งอาศัยเดิมขาดแคลน หนูจะอพยพย้ายถิ่นฐานเป็นฝูงไปสู่แหล่งอาศัยใหม่ เช่น การอพยพของหนูจากลาวมาไทยที่จังหวัดเลย หนองคายและอุดรธานี เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2536      ทำความเสียหายอย่างมากต่อพืชผลการเกษตรที่ปลูกบนพื้นที่ตามแนวชายฝั่ง แม่น้ำโขงและ พื้นที่ใกล้เคียง รวมทั้งตามเส้นทางเดินเข้าสู่ป่าลึก เป็นต้น

วิธีการกำจัดหนูในนาข้าว โรงสีข้าว ฟาร์มปศุสัตว์ โรงงานผลิตอาหารสัตว์

วิธีการกำจัดหนูในนาข้าว

การกำจัดหนูในนาข้าว และฟาร์มปศุสัตว์จะใช้หลักการเดียวกัน โดยใช้ทั้งวิธีทางกายภาพ และการใช้สารเคมีผสมผสานกัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

การจัดการหนูในนาข้าว สามารถทำได้โดยในขั้นการเตรียมดิน หรือช่วงก่อนการปลูกข้าวต้องลดจำนวนประชากรหนูลงอย่างรวดเร็ว ด้วยการใช้วิธีต่างๆ  เช่น การขุด ดักจับ การล้อมตี การล้อมรั้ว การใช้กรงดัก  ร่วมการใช้ เหยื่อพิษกำจัดหนูสำเร็จรูป วางเหยื่อพิษกำจัดหนูตามคันนาที่มีรอยทางเดินของหนูจุดละ 3-5 ก้อน โดยพยามวางแต่ละจุด ห่างกัน 5-10 เมตร ให้รอบตามคันนา ครบคลุมพื้นที่ที่เราต้องการกำจัด โดยทำเพียง 1 ครั้ง ต่อ 1 ฤดูปลูก

ขั้นที่สอง  คือ การรักษาระดับของประชากรหนูให้อยู่ในระดับต่ำเสมอ  โดยให้ห่างจากขั้นตอนแรก 1 – 2 สัปดาห์  ในระยะที่ข้าวกำลังเจริญเติบโต  ด้วยการใช้เหยื่อพิษกำจัดหนู ร่วมกับวิธีกลอื่นๆ  ที่เหมาะสมและการอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ     ให้นำเหยื่อพิษกำจัดหนูใส่ในภาชนะแล้ววางบริเวณที่พบร่อยรอยหนูในอัตรา 25 ก้อนต่อไร่  ห่างกันจุดละ 10 – 20 เมตร  หรือใส่ลงในรูหนูที่มีขุยดินใหม่ๆ  โดยตรง รูละ 2 ก้อน   หลังจากผ่านขั้นตอนแรกมาแล้ว 1 สัปดาห์ ให้วางเหยื่อดังกล่าวเดือนละ 1 ครั้ง ต่อเนื่องไปเป็นเวลา 3 เดือน โดยวางตามคันนาหรือแหล่งที่พบร่อยรอยหนูจุดละ 1 ก้อน   แต่ละจุดห่างกัน 5-10 เมตร เดือนละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3 เดือน  และต้องหมั่นเก็บซากหนูตายออกจากแปลง   เพราะสารเคมีดังกล่าวมีพิษตกค้างในหนู    อาจทำให้ศัตรูธรรมชาติของหนู เช่นนกฮูก นกเค้าแมว นกเหยี่ยว หรือสุนัขตายได้ เนื่องจากสัตว์เหล่านี้ จะกินซากหนูที่มีสารพิษเข้าไป

วิธีการกำจัดหนูในนาข้าว โรงสีข้าว ฟาร์มปศุสัตว์ โรงงานผลิตอาหารสัตว์

การกำจัดหนูในโรงสีข้าว ฟาร์มปศุสัตว์ และ โรงงานอาหารสัตว์ ตามหลัก GMP

วิธีการกำจัดหนูในนาข้าว โรงสีข้าว ฟาร์มปศุสัตว์ โรงงานผลิตอาหารสัตว์วิธีการกำจัดหนูในนาข้าว โรงสีข้าว ฟาร์มปศุสัตว์ โรงงานผลิตอาหารสัตว์

วิธีการกำจัดหนูในโรงสีข้าว ฟาร์มปศุสัตว์ และ โรงงานอาหารสัตว์ จะแตกต่างจากการกำจัดหนูในนาข้าวเนื่องจากเป็นการกำจัดหนู ในพื้นที่ผลิตอาหาร สำหรับคน หรือสัตว์ เสี่ยงต่อการปนเปื้อน จึงต้องมีความระมัดระวังในการกำจัดสูง เราสามารถใช้ GMP เข้าร่วมในการกำจัดหนูดังนี้

โดยมีขั้นตอนการกำจัดหนูในฟาร์มปศุสัตว์ โรงสีข้าว ตามหลัก GMP ดังนี้

  1. สำรวจการแพร่ระบาดของหนู มีความสำคัญและจำเป็นต่อการป้องกันและกำจัดหนู  เพราะช่วยให้ทราบว่ามีหนูอยู่บริเวณนั้นมากน้อยเพียงใด เป็นหนูชนิดใด ร่องรอยของหนูที่สามารถสำรวจพบ ได้แก่ รอยกัดแทะ โพรงหรือรูหนู รอยทางเดิน มูลหนู รอยเมือก กลิ่นฉี่หนู เป็นต้น เพื่อวางแผนการป้องกันกำจัดต่อไป
  2. ลดที่อยู่อาศัยและป้องกันหนู การกำจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อหนู เพื่อลดแหล่งอาหาร ที่อยู่อาศัยของหนู และป้องกันหนูจากภายนอกเข้ามาภายในบริเวณฟาร์มปศุสัตว์ หรือโรงสีข้าว โรงอาหารสัตว์ เป็นการลดจำนวนประชากรของหนูได้ทางหนึ่ง
  • อาคารที่สามารถป้องกันไม่ให้หนูเข้าได้นั้นต้องไม่มีช่องทางเปิดอื่นใดที่หนูจะเข้าได้ปิดหรืออุดทางหนูเข้าออก เมื่อพบว่ามีช่องทางเดินของหนู โดยวัสดุที่ใช้ปิดต้องแข็งแรงกว่า ฟันของหนู เช่นแผ่นสแตนเลส เป็นต้น
  • กำจัดขยะมูลฝอย ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำลายแหล่งอาหารและที่พักอาศัยของหนู
  • ปรับปรุงฟาร์ม อาคารสำนักงานและที่อยู่อาศัย ให้ถูกสุขลักษณะ
  • เก็บอาหารสัตว์ ที่ผลิตเสร็จแล้ว ให้มิดชิด เป็นระเบียบ และกำจัดอาหารที่ตกหล่นตามพื้นเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของหนู
  1. การเลือกวิธีกำจัดที่ถูกต้อง การเลือกวิธีกำจัดดูได้จากการสำรวจว่าพบหนูชนิดใด มีปริมาณมากน้อยเพียงใด การกำจัดหนูให้ได้ผลมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสถานที่และสภาพแวดล้อม เมื่อสำรวจพบหนูในปริมาณมากต้องกำจัดอย่างเร่งด่วน ควรใช้เหยื่อพากำจัดหนูที่ได้รับการรับรองจากกรมปศุสัตว์ หรือ ที่กระทรวงสาธารณสุข (อ.ย.) เช่น โบรมาดิโอการ์ด ที่มีสารออกฤทธิ์ Bromadiolone 0.005% เพื่อควบคุมประชากรของหนูที่เหลืออยู่ไม่ให้แพร่พันธุ์เพิ่มขึ้นและกำจัดให้หมดไป และการวางเหยื่อควรทำอย่างต่อเนื่อง โดยวิธีการวางเหยื่อควรวางใน กล่องวางเหยื่อกำจัดหนู (Bait station) เพื่อป้องกันเหยื่อปนเปื้อนออกสู่ภายนอกและป้องกันสัตว์ในฟาร์มมากิน
  2. วิธีการวางกล่องวางเหยื่อพิษกำจัดหนูนั้น มีหลักในการวางคือ “การวางเหยื่อ 3 แนว” หรือที่เรียกว่า three line basis protect
  • แนวที่ 1 คือ วางเหยื่อภายในอาคาร เพื่อกำจัดหนูภายในอาคาร ระยะการวางขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของการบุกรุก โดยจะวางเหยื่อห่างกันประมาณ 5 – 10 เมตร แต่การวางเหยื่อพิษกำจัดหนู ในแนวนี้ บางที่อาจจะไม่เหมาะสม เนื่องจากไม่สอดคล้องกับหลักการ GMP โดยอาจเปลี่ยนเป็นการวาง ถาดกาวดักหนู แทนการวางยาเบื่อหนูภายในกล่องแทน เพื่อป้องกันการปนเปื้อน โดยเน้นการวางกล่องดักหนู ให้ชิดขอบผนัง รวมถึงบริเวณบนฝ้าเพดาน ท่อเดินสายไฟ ท่อน้ำ ตรงบริเวณที่หนูชอบเดินผ่าน
  • แนวที่ 2 คือ วางเหยื่อรอบนอกอาคาร เพื่อป้องกันหนูภายนอกอาคารไม่ให้เข้าไปในอาคาร โดยวางห่างกันประมาณ 10-15 เมตร รอบอาคารผลิต หรือ รอบๆ ฟาร์มปศุสัตว์ ขึ้นกับความรุนแรงของการบุกรุก โดยจะเน้นวางรอบ ๆ ประตูทางเข้า ออก
  • แนวที่ 3 คือ วางเหยื่อรอบ ๆ แนว รั้วโรงงาน หรือฟาร์ม เพื่อป้องกันหนูจากภายนอกเข้ามาภายในฟาร์ม โดยวางกล่องเหยื่อพิษกำจัดหนู ใช้หลักการเดียวกันกับแนวที่ 2
  1. การบันทึกข้อมูล หากโรงงานอาหารสัตว์ โรงสีข้าว ฟาร์มปศุสัตว์ ต้องการขอการรับรองมาตรฐานทางด้าน Food safety, GMP, HACCP etc. การบันทึกข้อมูลเป็นอีกหัวข้อ ที่ขาดไม่ได้ โดยทั่วๆ ไป สิ่งที่ต้องเก็บบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เพื่อแสดงให้กับทาง auditor เพื่อใช้ตรวจสอบ มีคร่าวๆ ดังนี้
  • หลักฐานการฝึกอบรม ผู้ปฏิบัติงานทางด้านการกำจัดหนู สัตว์พาหะ ว่ามีความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน
  • บันทึกจำนวนกล่อง แผนผัง จุดติดตั้ง การวางเหยื่อพิษกำจัดหนู ในพื้นที่กำจัดหนูทั้งหมด
  • บันทึกจำนวนเหยื่อพิษกำจัดหนูที่ใส่ลงไป จำนวนเหยื่อที่หายไป ความถี่ที่ใส่ยาเบือหนู เป็นต้น
  • บันทึกการสำรวจร่องรอยของหนู และสัตว์พาหะ พร้อมแนวทางแก้ไข ป้องกัน

 ยาเบื่อหนู โบรมาดิโอการ์ดยาเบื่อหนู โบรมาดิโอการ์ด ซอง

 

จุดสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการวางเหยื่อกำจัดหนู

  • เลือกชนิดเหยื่อพิษกำจัดหนู ให้เหมาะสมกับการระบาดของหนู
  • วางเหยื่อในที่ ๆ หนูผ่าน ในปริมาณที่เพียงพอ
  • วางเหยื่อในกล่องวางเหยื่อเพื่อความปลอดภัย
  • ลดแหล่งน้ำและอาหารของหนูถ้าเป็นไปได้
  • ควรอ่านและปฏิบัติตามฉลากผลิตภัณฑ์อย่างเคร่งครัด

 

IMG_2926กล่องใส่เหยื่อหนู-3

รูปแบบของเหยื่อกำจัดหนู

รูปแบบมีการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนี้ เหยื่อแบบผงผสมวัตถุดิบอาหาร เช่น เมล็ดธัญพืช มีความน่ากินที่ดี ความคงทนต่อสภาพอากาศปานกลางเมื่ออยู่ในรูปวัตถุดิบ แต่จะดีมากขึ้นเมื่ออยู่ในกล่องวางเหยื่อ เช่น เหยื่อพิษกำจัดหนู โบรมาดิโอการ์ด

ข้อดี คือ

  • วัตถุดิบและกลิ่นหลากหลาย เหมาะสำหรับหนูที่มีความละเอียดลออในการกิน ควรใช้ในที่แห้ง อัดเม็ดแข็ง มีความน่ากินที่ดีมาก คงทนต่อสภาพอากาศได้ดีเยี่ยม
  • อัดเม็ดแข็ง เหมาะสำหรับหนูที่ชอบกัดแทะ และควรใช้เมื่อต้องการวางเหยื่อในโพรงและเมื่อมีอากาศชื้น อัดเป็นก้อน มีความน่ากินและคงทนต่อสภาพอากาศได้ดีเยี่ยม
  • รูปร่างมีขอบหลายขอบเหมาะกับอุปนิสัยของหนูซึ่งชอบกัดแทะและสามารถแขวนไว้ในอุปกรณ์บรรจุเหยื่อ แนะนำให้ใช้ทั้งในอาคารและนอกอาคาร เหยื่อรูปของเหลว มีความน่ากินและคงทนต่อสภาพอากาศได้ดีเยี่ยม เหมาะกับบริเวณพื้นที่ที่มีแหล่งอาหารสูง

สนใจสอบถามอุปกรณ์และสารเคมีการกำจัดหนู ในนาข้าว ฟาร์มปศุสัตว์ โรงสีข้าว โรงงานอาหารสัตว์ ได้ที่

คุณหลิน 081 899 4987

Email: thaipestchemical@gmail.com